หมู่บ้านแห่งนี้ มีความสมานฉันท์ สามัคคี กลมเกลียว และแข็งแกร่งอย่างมาก
หมู่บ้านที่อยู่หลังภูเขาขนาดใหญ่กว่ายักษ์ไทตัน 100 เท่า - ผู้เขียนไม่เคยเห็นยักษ์ตนนี้ แต่น่าจะมีขนาดใหญ่เพราะเป็น "ยักษ์"
หมู่บ้านที่อยู่ไกลจากตัวเมืองสังขละบุรีทางตะวันออกประมาณ 20 กิโลเมตร ด้วยสภาพถนนลูกรัง ขรุขระ อันตราย ชื้นแฉะ และคดเคี้ยว
หมู่บ้านที่มีสภาพอากาศหนาวตลอดทั้งปี และสุดแสนทุรกันดาร



แต่...เป็นหนึ่งหมู่บ้านภายในอำเภอสังขละบุรีที่มีการตั้งสถานศึกษาระดับมัธม และมีนักเรียนปริมาณมาก
มีหอพักรับรองนักเรียนบ้านไกล มีระบบการสื่อสารขนาดใหญ่ มีโครงสร้างการบริหารชุมชนที่เข้มแข็ง
มีนักท่องเที่ยวแวะเวียน ชื่นชม สัมผัสความบริุสุทธิ์ของธรรมชาติ และวิถีชีวิตตลอดทั้งปี
เป็นหนึ่งในสองหมู่บ้านอำเภอสังขละบุรี
ที่ได้รับการถวายเงินมากเป็นล้าน สำหรับงานพิธีทอดกฐิน
เป็นหนึ่งในสองหมู่บ้านอำเภอสังขละบุรี ที่ได้ใช้น้ำจากแม่น้ำรันตี แม่น้ำหลัก 1 ใน 3 อำเภอสังขละบุรี
และเป็นเพียงหนึ่งเดียวในอำเภอสังขละบุรี มีกฎหมู่บ้านห้ามซื้อ ขาย ให้เช่าที่ดินอันเป็นสมบัติบรรพบุรุษแก่บุคคลภายนอกทุกประเภท

คือ "หมู่บ้านกองม่องทะ" หมู่บ้านที่มีชื่อจากลำห้วย "กองม่องทะ"




ลำห้วยกองม่องทะ เป็นห้วยเล็ก ๆ ไหลจากทิศเหนือของหมู่บ้าน เย็น ใส สะอาด หล่อเลี้ยงหมู่บ้านทั้งปี
ระบบการประปาหมู่บ้านส่วนหนึ่งใช้น้ำจากห้วยกองม่องทะนี้
ชาวกองม่องทะให้ความสำคัญ ให้ความเคารพ ให้ความรักลำห้วยแห่งนี้มาก
นักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมชมหมู่บ้านรู้จักลำห้วยกองม่องทะดีพอกับรู้จักแม่น้ำรันตี



"นายไพบูลย์ ช่วยบำรุงวงศ์" ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนแห่งนี้ มีความไพบูลย์ในทุกด้าน ไม่ว่าทางความคิด วิสัยทัศน์ ความรู้สึก ความรัก ความภาคภูมิใจ และความเมตตา ดังชื่อของตัวเองว่า"ไพบูลย์" ซึ่งมีความหมายว่า "ความสมบูรณ์ ความมากพร้อม และความพรั่งพรู
ท่านดำรงตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้ ทำหน้าที่พัฒนา รักษา สืบสาุน และถ่ายทอดเป็นเวลานานมากกว่า 10 ปี มีความรู้ ประสบการณ์รอบด้าน
เป็นที่เคารพรักของทุกคนในชุมชน ทั้งคนใกล้ชิด และผู้รู้จักทั่วไป



ท่านเล่าให้ฟังว่า "เราเป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง เราคือผู้ที่มีหนึ่งรูปลักษณ์ภายใต้ 2 วัฒนธรรมอันน่าภาคภูมิใจ เราต้องไม่รู้สึกแตกต่างยามต้องพูดภาษาท้องถิ่นกับภาษาราชการ หมายความว่า พูดภาษากะเหรี่ยงด้วยความซาบซึ้ง และเปล่งคำไทยด้วยความรัก"

ฉะนั้นชุมชนหมู่บ้านกองม่องทะ จึงไม่มี หรือยากรู้สึกในความแตกต่างทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทั้งสอง
ชาวกองม่องทะมีสัญชาติไทย ถือบัตรประจำตัวคนไทย มีความภาคภูมิใจ และเต็มใจอย่างเต็มเปี่ยมเพื่อปฏิบัติตนภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ไม่ลืม และไม่เคยทอดทิ้งความเป็นชาวกะเหรี่ยงในทุกวิถีแห่งชีวิตเช่นกัน

นั่นคือ ความคิด ความเ็ป็น และจารีตปฏิบัติชาวบ้านกองม่องทะ ชุมชนที่น่ารักที่สุดแ่ห่งหนึ่งบนโลกใบนี้
..............................................................................................................................................................................................................................................................................

ป้ายขนาดไม่ใหญ่นัก ที่ทางแยกแห่งหนึ่งระหว่างสะพานรันตีข้ามแม่น้ำรันตี กับตัวเมืองสังขละบุรี แสดงชื่อหมู่บ้านกองม่องทะ สถานที่ราชการ และระยะทางเข้าหมู่บ้านว่า 9 กิโลเมตร นั่นคือทางเข้าแห่งเดียวสำหรับรถยนต์ และจักรยานยนต์ ซึ่งต้องผ่านสภาพถนนที่ค่อนข้างลำบาก


ผู้เขียนต้องใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมงกว่าการเดินทางจะจบ เพราะต้องหยุดรถมอเตอร์ไซค์คู่ชีพเป็นช่วง ๆ ชื่นชมทิวทัศน์ และดูดดื่มบรรยากาศสองข้างทาง
แม้ใบไ้ม้ และสีน้ำเป็นสีเขียวซึ่งหมายความว่า "ให้ผ่านตลอด" แต่เหมือนสีเขียว ณ สถานที่แห่งนี้ มีอำนาจหยุดการจราจรได้อย่างน่าอัศจรรย์
จึงปรารถนาบันทึก ณ ตรงนี้ว่า "สีเขียวที่หมู่บ้านกองม่องทะ ตำบลไล่โว่ สังขละุบุรีมีอำนาจให้คนขัับหยุดรถไ้ด้"

ทางแยก"ไฟแดง" ทุกที่ ส่วนใหญ่กระตุ้นความร้อนรน ความรำคาญใจ และความประมาทให้เกิดกับคนขับเกือบทั้งหมด
แต่ "สีเขียว" ระหว่างทางเข้าหมู่บ้านกองม่องทะ ทั้งมีอำนาจหยุดรถ ทำให้่ผ่อนคลายเหมือนหนึ่งหมอนวด และเป็นบทเพลงชวนเคลิบเคลิ้ม
..............................................................................................................................................................................................................................................................................

การได้วักน้ำล้างหน้าที่ "แม่น้ำรัน" ณ ท่าวัดกองม่องทะ เป็นสิ่งแรกเมื่อบรรลุถึงหมู่บ้าน
แม่น้ำรันตี ทั้งมีอายุ และมีมนต์ขลัง เป็นหนึ่งในแม่น้ำที่มีชื่อเสียงที่สุด เป็นที่รู้จัก และได้รับความเคารพรักจากชาวสังชละบุีรีทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านกองม่องทะ ซึ่งเคารพ รัก ดูแล อนุรักษ์ หวงแหนแม่น้ำแห่งนี้ดุจหนึ่งทองคำในกำมือของมารดา

ต้องใช้เวลาเกือบครึ่งชั่วโมง กว่าจำใจจากแม่น้ำรันตีที่ศักดิ์สิทธิ์ได้
น้ำเย็น ใส ลึก ไม่มีรสชาติแต่รู้สึกสดชื่น ไหลเอื่อยๆ บ้างมีเชี่ยวกรากด้วยความคะนองในอำนาจ
ก้อนหิน และหาดทรายเล็กๆ เป็นเครื่องประดับ แต้มให้สายน้ำแห่งนี้มีความงามเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ


คุณค่าความเป็นก้อนกรวด ก้อนหิน และเม็ดทราย ณ สถานทีแห่งนี้ ไม่เพียงเป็นวัตถุดิบเพื่อสร้างบ้าน ทำถนนเท่านั้นอย่างแน่นอน
หากมีการเคลื่อนย้ายก้อนกรวด ก้อนหินสักก้ิอนบนริมหาดทรายของแม่น้ำแห่งนี้ อาจสะท้อนถึงดวงดาวก็เป็นไปได้

เสียงดังทั่วไป คือ เสียงรบกวน
แต่เสียงดังจากการไหลของแม่น้ำรันตี คือ ความสงบ
ความสงบ ณ หาดทรายแม่น้ำรันตีแห่งนี้ เป็นมากกว่าคำว่า "ความสุข"
และเป็นความสุขอย่างแท้จริง...

หลังจากร่ำลาแม่น้ำรันตี ด้วยหัวใจที่ไม่ได้ร่ำร้องจะร่ำลา
ได้มีโอกาสพบลุงผู้ใหญ่ไพบูลย์ ช่วยบำรุงวงศ์ ณ ลานวัดกองม่องทะ
ด้วยความคุ้นเคยประสาคนบ้านเดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน นิสัยไม่ต่างกัน และอุดมการณ์คล้ายกัน
จึงถือโอกาสชวนท่านเที่ยวหมู่บ้าน และเป็นการออกกำลังยามเย็น
ท่านคุ้นเคย สนิทกับชาวบ้านทุกคน "กินข้าวหรือยัง ทำอะไรอยู่ สบายดีไหม" คือคำถาม และคำตอบซ้ำแล้วซ้ำอีก ระหว่างการเดินเที่ยวตามถนนกลางหมู่บ้าน



ถนนหมู่บ้านเกือบทุกสายเป็นคอนกรีต
บ้านทุกบ้านมีต้นหมากขึ้นเป็นฉากหลัง ถือเป็นต้นไม้ประจำหมู่บ้านกะเหรี่ยงอำเภอสังขละบุรี
ชาวกะเหรี่ยงโดยเฉพาะ ผู้มีอายุ นิยมเคี้ยวหมาก ไม่ใช่ของว่าง ไม่ใช่ความนิยม แต่เป็นพฤติกรรมจากรุ่นสู่รุ่น เหมือนสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม

ชาวบ้านกองม่องทะ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกไร่ข้าว พืชหมุนเวียน
เยาวชนถูกปลูกฝังว่า "ตัวเองเป็นใคร ต้องปฏิบัติตนอย่างไร ควรจะไปทางไหน" ทั้งที่โรงเรียนและบ้าน
พวกเขาจึงมีความสำนึก "รักบ้านเกิด" กันมาก
ผู้อาวุโสในหมู่บ้านไม่ละเลยการเผยแผ่ ถ่ายทอดวัฒนธรรมอันน่าหวงแหนของตนเอง
โครงการเพื่อทำนุบำรุง ธำรงความเป็นชาวไทยกะเหรี่ยงในหมู่บ้านจึงเกิดขึ้นเป็นโครงการต่อเนื่องทุกปี

คำว่า "พอเพียง" เป็นคำตอบที่ดีมาก สำหรับความไม่ทะเยอทะยานในหนทางอันน่ารังเกียจ
แต่คำ่ว่า "มุ่งมั่น" มีอยู่ในหัวใจชาวกองม่องทะทุกคน



ชาวบ้านกองม่องทะอยู่อาศัย และทำการเกษตรกรรมทั้งสองฝั่งแม่น้ำรันตี
การติดต่อ เดินทางข้ามแม่น้ำในฤดูฝนซึ่งน้ำเชี่ยวกราก หลากแรงเป็นเรื่องลำบาก และอันตรายมาก
วัด หมู่บ้านจึงร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมทุนสร้างสะพานแขวนแข็งแรงขึ้นแห่งหนึ่ง บริเวณท่าน้ำวัดกองม่องทะ เรียก "สะพานข้ามแม่น้ำรันตี"
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของหมู่บ้าน
สร้างความปลอดภัย ความสะดวก รวดเร็วกับการคมนาคมของชาวบ้าน และันักท่องเที่ยวทุกคน
บรรยากาศยามเช้า และยามเย็นตรงกลางสะพานแขวนแห่งนี้ทำให้อารมณ์เริงรื่น รอยยิ้มเริงร่าได้
แม้ไม่มีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศสะพานโกเด้นเกท เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอเนีย อเมริกา
ได้สัมผัสสะพานข้ามแม่น้ำรันตี ความรู้สึกคงต่างกันเล็กน้อย ไม่ต้องไปไกล ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย แต่สร้างความสุขได้

ความสะอาด สงบ ร่มเย็นตลอดเส้นทางทั่วหมู่บ้านเป็นบรรยากาศอันน่าพิสมัย น่าหลงไหล และน่าประทับใจ
ถือเป็นแบบอย่างชุมชนเรื่อง ความเข้มแข็ง ความสามัคคี และความสะอาดได้เลย
เป็นความรู้สึกอิ่มอก อิ่มใจ ภาคภูมิใจ เปลื้มใจอย่างบอกไม่ถูก
เพราะประสบการณ์จากการได้สัมผัสหมู่บ้านกะเหรี่ยงอื่น โดยเฉพาะหมู่บ้านในตำบลหนองลู ไม่เ็ป็นเช่นนี้

กองม่องทะเป็นชุมชนกะเหรี่ยงเลือดบริสุทธิ์ที่เข้มแข็ง มีความสามัคคีของชุมชนเป็นปราการ เป็นเกราะกลั่นกรอง คัดสันบุคคลภายนอก และวัฒนธรรมอันเลวกว่าอย่างได้ผลอันแสนจะน่าทึ่ง
แม้จะมีบุคคลภายนอกแปลกปลอมเข้ามา เพื่อวัตถุประสงค์ หรือเจตนาใดก็ตาม
หากสวนทางกับกระแสวัฒนธรรมอันเข้มแข็งของหมู่บ้านแล้ว เป็นต้องถอยออก หรือหนีหายไปทั้งสิ้น



เรื่องเหล่านี้ ยากจะเห็น หรือให้เกิดขึ้นในชุมชนกะเหรี่ยงอื่น โดยเฉพาะชุมชนกะเหรี่ยงตำบลหนองลู
ชุมชนกะเหรี่ยงตำบลหนองลู ล้วนถูกกระแสวัฒนธรรมอื่นตี โอบ ล้อม ล่อ และทำลาย นานวันยิ่งอ่อนแรง เหนื่อยล้า เพราะไม่มีวิธีป้องกัน
ขาดเสถียรภาพ ขาดเอกภาพ แม้เอกลักษณ์ความเป็นกะเหรี่ยงแทบจะไม่เหลือ
ไม่มีความเป็นตัวเอง ไม่มีอำนาจต่อรอง หมดแรงฟื้นฟู หมดปัญญาเอาคืน และจะสิ้นสุดประวัติศาสตร์ชาวกะเหรี่ยงตำบลหนองลูในที่สุด
ภาพมันฟ้อง ความรู้สึกมันบอก หันซ้ายก็เจอ หันขวาก็สัมผัสได้ เหตุการณ์ และเรื่องราวแย่ขึ้นทุกวินาที

ผู้นำ้ชุมชนล้วนเห็นแก่ตัว โอ้อวด ถือทิฎฐิ มีมานะ และทึบปัญญา

อย่าให้เหลือแต่ความทรงจำ เหลือแค่เรื่องเล่าเลย
อย่าให้เหลือเพียงรูปลักษณ์ ที่ปราศจากความรู้สึก และวิญญาณเลย
อย่าให้เหลือแต่เถ้าธุลีที่ไร้ค่าเลย
อย่าทำอย่างนี้เลย - ผู้นำชุมชนตำบลหนองลู - ตื่นเสียที
...................................................................................................................................................................................................................................................................

วัดกองม่องทะ

ศาลาการเปรียญที่ดาดาษไปด้วยเสากลมแข็งแรงขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นความสามัคคี และพลังของชุมชนแห่งนี้มีต่อวัดได้ดี
พระพุทธรูปปางต่างๆ ได้รับการน้อมถวายจากพุทธศาสนิกทั่วสารทิศ ประดิษฐานเป็นประธานภายในศาลาการเปรียญ แสดงให้เห็นความศรัทธาที่เปี่ยมล้นของพุทธศาสนิกชนมีต่อวัดแห่งนี้
สะพานแขวนข้ามแม่น้ำรันตีอันยาวเหยียดซึ่งบูรณะ ซ่อมแซมได้เป็นประจำ แสดงให้เห็นคุณงามความดีของวัดและชุมชนที่สามารถนิรมิตร
สถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่และแข็งแกร่งเช่นนี้ได้ ณ หมู่บ้านกลางหุบผา สันเขาเช่นนี้
และคำกล่าวขานเรื่องราวของวัดกองม่องทะ เป็นดัชนีชี้วัดมนต์ขลัง แรงเสน่ห์ของวัดแห่งนี้ได้เช่นกัน



หากความอัศจรรย์ อภินิหาร หรือคุณความดีใด ซึ่งทำให้วัดกองม่องทะโ่ด่งดังเป็นที่รู้จัก และปรารถนามาเยือนสักครั้งของหลายๆ คน
ความอัศจรรย์ อภินิหาร หรือคุณงามความดีนั้น คือ "ความทุรกันดาร ความห่างไกล ความลี้ลับ และความเป็นเอกลักษณ์ของวัด ชุมชน โรงเรียนแห่งนี้นั่นเอง" ผู้เขียนมีความคิด และรู้สึกเช่นนั้น



ไม่ได้สอบถาม หรือนับเสากลมมากมายตั้งเรียงรายขนาดใหญ่ที่ได้ัรับการตกแต่งอย่างดีของศาลาการเปรียญทั้งสองว่ามีจำนวนเท่าใด
แต่นั่นคือ ความสวยงาม ความประทับใจ และเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัดนี้
ภายในเป็นสถานที่รับรองพระอาคันตุกะ เ็ป็นที่สวดมนต์ ไหว้พระ และจัดกิจกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ได้ัรับการขัดถู มีความเงางาม เรียบลื่นตลอดเวลาเป็นอย่างดี สร้างความตื่นตา ปลูกความศรัทธาให้แก่ผู้มาเยือนทุกคน

สิ่งที่ประทับใจ และสร้างความศรัทธาอีกอย่างภายในวัดคือ "พระพุทธรูป"
จำนวนพระพุทธรูปแบบต่างๆ ทั้งไทย มอญ-พม่า ประดิษฐานเรียงรายมากมายภายในศาลาของวัด
เป็นพระพุทธรูปได้รับการน้อมถวายทั้งจากพุทธศาสนิกชาวไทย กะเหรี่ยง พม่าผู้แวะเวียนเข้ามาทำบุญในโอกาสต่างๆ
มีขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้างสร้างความปรีดา ปราโมชย์อย่างมากให้เกิดขึ้นแด่ผู้พบเห็น กราบไหว้
รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย มั่นคง สงบเยือกเย็นเมื่อนั่งเพ่ง พิจารณารูปแบบปฏิมากรรมพระพุทธรูปแบบต่าง ๆ เหล่านั้นภายในศาลา

ไม่ใช่เพียงฝีมือที่แนบเนียน เหนือเซียนปรากฎให้เห็นในรูปลักษณ์พระพุทธรูปทั้งหลาย
แต่มีความตั้งใจ มีจิตวิญญาณ มีความศรัทธาปรากฎให้เห็นทุกที่ ทุกซอก ทุกมุมแฝงเร้นภายในรูปลักษณ์เหล่านั้น
อย่างสัมผัสได้....ด้วยหัวใจ



วัดกองม่องทะ มีศาลาเก่าแก่ประจำหมู่บ้าน 1 หลัง ตั้งสง่าอยู่กลางลานวัด อายุการใช้งานนาน
เป็นศาลาทำภัตกิจของพระภิกษุ สงฆ์ สามเณร
บางครั้งรับรองพระอาคันตุกะ หรือจัดกิจกรรมเล็กๆ ทางศาสนาของหมู่บ้าน
ปัจจุบันมีสภาพค่อนข้างทรุดโทรม เพียงได้รับการทาสีให้รู้สึกใหม่
แต่โครงสร้างส่วนใหญ่ปรากฎให้เห็นถึงความเก่า ทรุดโทรม และผุพัง
โดยเฉพาะบันไดขึ้นศาลาซึ่งพังทรุดโทรมแล้ว ปัจจุบันใช้ไม้ไผ่ทำบันไดใช้งานทดแทน ต้องเปลี่ยนทุกปี



เป็นศาลาที่มีโครงการระยะยาวว่า "ต้องซ่อมแซม บูรณะ หรือรื้อถอนสร้างใหม่สักทีในอนาคต"

การมาหมู่บ้านกองม่องทะครั้งนี้
มีโอกาสพบเจ้าอาวาสเพียงเวลาสั้นๆ
ไม่ได้นั่งใกล้ พูดคุย สอบถามเรื่องราวใดๆ จากท่านเลย
ด้วยมีกิจด่วน ธุระจำเป็นเดินทางไกลตอนนั้น แม้เวลาเย็นแล้วก็ตาม
ได้ยินว่ามีีเพื่อนสหธรรมิกจากแดนไกล ต้องการพบท่าน แต่ไม่สามารถมาเยือนได้
ด้วยความเ็ป็นพระนักผจญภัย บุกเบิก ชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง ท่านจึงไปพบเพื่อนเองแม้เวลา ณ ขณะนั้นโพล้เพล้แล้วก็ตาม
"ใครจะรู้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่ง" ท่านจึงไม่รอให้เวลาล่วงเลยแม้หนึ่งวัน-หรือค่ำคืน

แค่สัมผัสพฤติกรรมเช่นนี้ ก็รู้ว่า "เจ้าอาวาสวัดรูปนี้ ไม่ใช่ธรรมดา"

มีเวลา มีโอกาส ขอให้แวะเวียนกันมา "ใครจะรู้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่ง"
หากตัดสินใจในหนทางที่ดี เป็นกุศลจิตแล้ว อย่าให้จิตดวงอกุศลเกิดขึ้นทับอีก รีบลงมือกระทำตอนนั้น


ยินดีต้องรับทุกท่านเสมอ
ต้อนรับสู่บรรยากาศแสนจะเคลิบเคลิ้มแห่งสายน้ำรันตี หมู่บ้านกองม่องทะ อำเภอสังขละบุรี
ขอบพระคุณอย่างยิ่ง

Google
Search WWW Search truehits.net
Contact: Saantipaab@hotmail.com, inside59@hotmail.com, Jothikhong@hotmail.com