วัดวังก์วิเวการาม

"รำลึกถึงหลวงพ่อ"

"หลวงพ่ออุตตมะ" ผู้นำทางศาสนา จิตวิญญาณ ภููมิปัญญา และทางโลก
ผู้สลายความรู้สึกอคติทางชาติพันธุ์ ไทย กะเหรี่ยง พม่า รามัญ
ผู้สร้างคุณูปการนานัปประการแก่สังคม จวบวันมรณภาพ 18 ตุลาคม 2549

ท่านเป็นพระภิกษุเ่ชื้อชาติมอญ ได้รับสัญชาติไทย เมื่อ 22 มีนาคม 2526
เกิดเมื่อปี พ.ศ.2453 เติบโต เล่าเรียนที่บ้านโมกกะเนียง ตำบลมะละแหม่ง เืมืองเย ประเทศพม่า
บวชเรียนแต่เยาว์วัย สอบเปรียญธรรมชั้นสูงได้ ป.ธ.7 แตกฉานธรรมวินัย
ปฏิบัติเคร่งครัด มุ่งธุดงค์ปฏิบัติธรรม
สามารถพูดภาษามอญ พม่า อังกฤษ และไทย
เชี่ยวชาญประกอบยาสมุนไพร เข้าใจหลักการก่อสร้าง แตกฉาน และเก่งกล้าทางไสยเวทย์



ท่านเข้าู่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2492 ด้วยเบื่อหน่ายการสู้รบ ระหว่างขบวนการกู้ชาติชาวมอญ กับรัฐบาลพม่า
จำพรรษาตามอาวาสต่างๆ ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี

ปี พ.ศ. 2494 ชาวมอญซึ่งส่วนใหญ่รู้จักท่านจำนวนมาก ได้อพยพภัยสงครามเข้ามาอำเภอสังขละบุรี และทยอยอพยพยเพิ่มขึ้นในปีต่อๆ มา
ท่านจึงได้เจรจากับทางราชการเพื่อขอที่ดินตั้งหมู่บ้านชาวมอญให้ได้อาศัยร่วมกันที่หมู่บ้านวังกะล่าง อยู่ห่างหมู่บ้านนิเถะ และที่ว่าการอำเภอสังขละบุรี(เก่า) ไปทางใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร เพื่อชาวมอญอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก้อน สามารถให้ความช่วยเหลือกัน และง่ายต่อการควบคุมดูแล ภายใต้กฎของหมู่บ้าน 4 ข้อคือ

- ห้ามดื่มสุรา
- ห้ามเล่นการพนัน
- ห้ามลักทรัพย์ และ
- ห้ามผิดลูกเมียใคร

ปีพ.ศ. 2496 ชาวมอญอพยพเพิ่มขึ้นจำนวนมากหลายร้อยครัวเรือน อาศัยกระจัดกระจายทั่วอำเภอสังขละบุรี ท่านได้ปรึกษากับทางการอีกครั้งเพื่อจัดตั้งหมู่บ้่านมอญขึ้น หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ตรงกันข้ามที่ว่าการอำเภอสังขละุบุรี(เก่า) โดยแม่น้ำแควน้อยกั้นกลาง เป็นจุดรวมแม่น้ำหลัก 3 สายไหลบรรจบกัน คือ แม่น้ำบิคลี่ แม่น้ำซองกาเรีย และแม่น้ำรันตี เรียกว่า "สามประสบ"



หลังจากได้ัรับอนุญาตตามคำร้องขอ ท่านได้จัดสรรที่ดินแก่ชาวมอญเพื่อสร้างบ้าน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มตามความสมัครใจบ้าง หรือตามหมู่ญาติีพี่น้องคนรู้จักบ้าง การก่อสร้างบ้านอยู่ภายใต้การดูแลของหลวงพ่อ และหน่วยงานราชการไทย

การตั้งหมู่บ้านทั้งสองฝั่งแม่น้ำแควน้อย ได้เกิดการเรียกพื้ินที่ตามชาติพันธุ์ผู้อาศัยว่า "ฝั่งมอญ ฝั่งไทย และฝั่งกะเหรี่ยง" และได้เรียกติดปากจนปัจจุบัน

ต่อมาปีพ.ศ. 2527 เมื่อมีการสร้างเขื่อนเขาแหลม อำเภอทองผาภูมิ สถานที่ราชการ หมู่บ้าน วัดวาอารามอำเภอสังขละบุรีเก่าในเขตน้ำท่วม ต้องอพยพโยกย้ายขึ้นพื้นที่สูงทั้งหมด รวมทั้งหมู่บ้านมอญด้วย

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ยกที่ดินผืนหนึ่งแด่กรมการศาสนาในความดูแลของหลวงพ่อ
ท่านจึงจัดสรรที่ดินผืนดังกล่าวแด่พี่น้องชาวมอญ เพื่อสร้างเป็นวัด และหมู่บ้าน โดยเรียกว่า "หมู่บ้านวังกะ" อันเป็นชื่อหมู่บ้านเดิมซึ่งถูกน้ำท่วม
ที่ดินซึ่งท่านได้รับการถวายจากกรมการศาสนามาจัดสรร แบ่งปันแด่ชาวมอญนั้น ใครก็ตามไม่สิทธิให้เช่า ซื้อ ขาย เพียงเป็นสถานที่อยู่อาศัยทำมาหากินเท่านั้น
.................................................................................................................................................................................................................................................................................

วันนี้...ไม่มีท่าน
อำเภอสังขละบุรีเงียบเหง่า
ผู้คน หมู่บ้าน วัดวาเหงาเงียบ
คิดถึง ระลึกถึง คำนึงถึง

ันนี้...แม้เหลือเพียงสังขารนอนสงบภายในปราสาทถูกสร้างอย่างอลังการด้วยความปราณีต ความเคารพรัก และความศรัทธา
แต่...ภาพแห่งความทรงจำ คุณงามความดี คุณูปการทั้งหลายของท่านยังคงปรากฎ ตั้งมั่นอย่างมั่นคงทั่วสารทิศ


วันนี้...ไม่มีท่าน
คิดถึง ระึลึกถึง คำนึงถึง
ข้างกายมีแต่ "หลวงพ่อ"

โรงเรียน โรงพยาบาล วัดวาอาราม
สะพานไม้ยาวที่สุดในโลก
สีแดงของหลังคาโบสถ์
สีเหลืองผ่องเจดีย์พุทธคยาอันตระการ
ฝั่งมอญ หมู่บ้านวังกะ แผ่นดินทองแผ่นดินธรรม
ภาษารามัญ พี่น้องชาวมอญ คำขวัญอำเภอสังขละุบุรี "อภิวาทหลวงพ่อ"



หากจะมีใครสักคน ได้รับการเชิดชูอย่างสูงสุดในอำเภอสังขละบุรี คนนั้นเป็น "หลวงพ่ออุตตมะ"
หากจะมีใครสักคนเป็นที่เคารพรักของเทวดา และมนุษย์ในอำเภอสังขละบุรี คนนั้นเป็น "หลวงพ่ออุตตมะ"
หากจะมีใครสักคนไม่รู้จักหลวงพ่ออุตตมะ คนๆ นั้นคือ "คนที่ยังไม่เกิด คนที่โง่เง่า หรือบ้าใบ้อย่างแท้จริง"
และหากจะเปลี่ยนหมู่บ้านวังกะเป็น "หมู่บ้านหลวงพ่ออุตตมะ" คงไม่มีคำต้านทาน หรือคำถ้อยกล่าวปฏิเสธ



วันนี้...ไม่มีท่าน
คิดถึง ระลึกถึง คำนึงถึง

เหมือนว่าขาดญาติเป็นที่รัก
เหมือนลูกน้อยขาดมารดา
เหมือนท้องฟ้าขาดเมฆลอย
เหมือนภูผาขาดสายลม
และเหมือนหัวใจ...จะขาดสะบั้น

รักหลวงพ่อ...

ขอบพระคุณอย่างยิ่ง

Google
Search WWW Search truehits.net
ติดต่อสอบถาม: Saantipaab@hotmail.com, inside59@hotmail.com, Jothikhong@hotmail.com