มู่บ้านพ่

"สเนพ่อง" แผลงจากคำในภาษากะเหรี่ยงว่า "สะหนี่พุ่ง" ซึ่งแปลได้ความว่า "ท่าแพ"
แม่น้ำโรคี่ หรือในภาษากะเหรี่ยงเรียก "แม่น้ำที่เขลาะ" เป็นแม่น้ำหลักไหลผ่านหมู่บ้าน เพื่อถ่อแพ ลากแพ คมนาคม ท่องเที่ยว และค้าขาย
บริสุทธิ์ ใส สะอาด เป็นแหล่งอาหาร หล่อเลี้ยงหมู่บ้านแห่งนี้รุ่นแล้ว รุ่นเล่า กระทั่งปัจจุบัน



ครั้งหนึ่ง หมู่บ้านสเนพ่อง มีช้างประมาณ 30 เชือก ซึ่งเป็นจำนวนมากสำหรับชาวบ้าน อำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทาง
บรรทุกสินค้า ใช้งาน เป็นสิริมงคลกับหมู่บ้าน และชาวบ้าน แม้งาช้างตั้งอย่างสง่าดังปรากฎให้เห็น ณ ฐานบูชาพระแก้ว บนศาลาการเปรียญ
เป็นงาช้างชาวบ้านในหมู่บ้านสเนพ่องนี้เอง

สเนพ่อง เป็นหนึ่งหมู่บ้านในอำเภอสังขละบุรี ที่เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร สมเด็จพระเทพพระรัตน์ฯ เสด็จมาเยี่ยมบ่อยที่สุด เป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้าน เป็นบุญของหมู่บ้าน เป็นที่กล่าวขาน เล่าสู่กันฟังอย่างไม่รู้จบด้วยรอยยิ้ม และความสุข

ชาวสเนพ่อง เป็นชาวบ้านที่น่าอิจฉา เพราะได้ใช้ชีวิตที่น่าอิจฉานั้นท่ามกลางธรรมชาติี่ที่แสนจะเป็นธรรมชาติ
หมายความว่า ธรรมชาติที่ไม่มีการเสกสร้างด้วยเงินตรา หรือจินตนาการของวิศวกรคนใด ทุกสิ่งคือการบรรจงอย่างวิจิตร เนรมิตรอย่างเหนือชั้นโดยศิลปินคือ ธรรมชาติ น้ำใส คือ น้ำใส ไม่ใช่น้ำใสเพราะสารทำให้ใส สีเขียวของใบไม้ไม่มีสีอะคลิริกใดเลียนแบบได้เหมือน
และความเย็นสบายของอากาศ บริษัทแอร์คอนดิชั่้นใดก็ทำตามให้เป็นเหมือนไม่ได้

สันนิษฐานกันว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีอายุประมาณ 500-600 ปี 
เพราะเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีความสลับสับเปลี่ยบความเสื่อม และความเจริญในชุมชนตลอดช่วงเวลามากมายที่ผ่านมา
สเนพ่องเป็นเมืองของเจ้าเมืองสังขละบุรีทุกองค์ดังนี้ คือ
- พระศรีสุวรรณคีรีที่ 1 (ภู่วาโพ่) 
- พระศรีสุวรรณคีรที่ 2 (กรมเมะจะ)
- พระศรีสุวรรณคีรีที่ 3 (ย่องตะมุ)
- พระศรีสุวรรณคีรีที่ 4 (ป่วยดงภู)
- พระศรีสุวรรณคีรีที่ 5 (ทะเจียงโปรย) ซึ่งเป็นนายอำเภอสังขละบุรีคนแรกตั้งแต่ปี 2445-2467 

ภายในหมู่บ้าน ณ ศาลาการเปรียญของวัดสเนพ่อง ได้ประดิษฐานพระแก้วสีขาว เรียกว่า "พระพุทธรัตนสังขละบุรีศรีสุวรรณ" ซึ่งรัชกาลที่ 3
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแด่พระศรีสุวรรณคีรีที่ 5 เมื่อครั้งร่วมพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจาที่เมืองกาญจนบุรี
เป็นมิ่งขวัญ ร่มโพธิ์ ร่มไทร ที่พึ่ง ศูนย์รวมใจของชาวกะเหรี่ยงตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี ชาวกะเหรี่ยงทั่วสารทิศ จะรวม และร่วมกันสรงน้ำพระแก้ว
ณ ลานวัดบ้านสเนพ่องแห่งนี้ด้วยความพร้อมเพรียง เป็นบรรยากาศแห่งความสุขของทุกปี โดยมีการละเล่น และแสดงต่างๆ ในเวลานั้น ซึ่งล้วนน่าประทับใจ และน่าตื่นตาตื่นใจทั้งสิ้น


โอกาสอีกครั้ง ได้เข้าหมู่บ้านสเนพ่อง เพื่อเยี่ยมเยียนหมู่บ้าน พักผ่อน กราบนมัสการพระแก้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้ล้างหน้า ล้างมือ และแช่เท้าที่แม่น้ำโรคี่ ถือเป็นความสุขเล็กๆ อย่างหนึ่งที่ทุกครั้งเมื่อมาหมู่บ้านแห่งนี้ เป็นเรื่องที่ไม่เคยพลาด

หมู่บ้านอยู่ทางตะวันออกจากตัวเมืองสังขละบุีรีประมาณ 10 กิโลเมตร ถนนลูกรัง เป็นหลุม เป็นบ่อ ขึ้นเขา ลงห้วย ตลอดระยะทาง
เป็นความสนุก เพลิดเพลินสำหรับเด็กหนุ่มทุกคน หัวเราะเริงร่าอย่างมีความสุข คึกคะนอง ยามล้อรถมอเตอร์ไซด์ตกหลุมลึกระหว่างทางเข้าหมู่บ้าน ที่ไม่สามารถหลบได้ทันแล้วทำให้คนขับเด้งขึ้นสูงเหมือนมีวิชากำลังภายในไม่ต่างกับลีลาพระเอกในภาพยนตร์จีน

มีบ้างบางคน ที่นึกสนุก ตั้งใจหันรถเข้าหาหลุมเพื่อทำให้ตัวเองเด้งขึ้น แล้วหัวเราะเริงร่าอย่างมีความสุขขณะขับรถเข้าหมู่บ้าน
ด้วยความเพลิดเพลิน เบิกบาน ก่อนถึงหมู่บ้านนักเดินทางผู้ผ่านทางทุกคน ต้องเผชิญกับอุปสรรคซึ่งตั้งตระหง่าน หนักแน่น
สงบ และยิ่งใหญ่ ที่ทางเ้ข้าหมู่บ้าน เรียกว่า "ผาไม้แดง" รถยนต์เด็กเล่น มอเตอร์ไซด์กระจอกหมดสิทธิพิชิตผาแห่งนี้ได้
อาจถึงขนาดต้องจูงขึ้น หรือทิ้งรถแล้วใ้ช้สองเท้าบุกฝ่าขึ้นไป

โดยส่วนตัวชอบบรรยากาศภายใต้ผาไม้แดงแห่งนี้มากเป็นพิเศษ เพราะขนาด และความคลื้มของต้นไม้ ใบไม้แดงทำให้รู้สึกเย็นสบาย เกิดจินตนาการอันบรรเจิดทุกครั้งยามผ่านช่วงการเดินทางนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การได้ยืนกางแขนในท่าเดอะวิทรูเวียน แมน ของลีโอนาโด ดาวินชี่ สูดอากาศบริสุทธิ์บนยอดของผาแห่งนี้หลังพิชิตมันได้สำเร็จ เป็นความภาคภูมิใจประหลาดบรรยายไม่ถูก เหมือนตัวเองได้ยืนสง่าู่บนยอดเขาเอฟเวอเรสก็ไม่ปาน แม้ไม่เคยสัมผัสยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกก็ตาม
แต่ชวนให้จินตนาการเช่นนั้นทุกครั้ง เพราะผาไม้แดงสูงมาก อยากเรียกมันว่า "ผาไม้แดง กำแหงแห่งหมู่บ้านสเนพ่อง"



บรรยากาศภายในหมู่บ้านร่มรื่น เงียบ สงบตามแบบฉบับของหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงตำบลไล่โว่ ไม่มีเสียงดังของรถประเภทใดเลย
ยกเว้นมอเตอร์ไซด์คันเดียวที่นั่งมันเข้ามา จึงคิดเสมอยามได้มาหมู่บ้านเช่นนี้ ณ สถานที่เช่นว่า "หากมีรถสักยี่ห้อทีไม่มีเสียงเลย จะเหมาะอย่างมากกับสภาพแวดล้อมเช่นนี้" เพราะเสียงของรถที่เงียบที่สุด ก็ถือว่ามีเสียงดัง ณ สถานที่สงบเ่งียบเช่นนี้
............................................................................................................................................................................................................................................................................


วัดสเนพ่อง


การตั้งหมู่บ้าน และวัดของชาวบ้านสเนพ่องเป็นไปตามวิธีการแบบโบราณกาลอย่างแท้จริง คือ ใกล้กับแม่น้ำ หรือแหล่งน้ำ
เสียงการไหลอันเป็นจังหวะ ฟังดูเหมือนเพลงบรรเลงโดยศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ของแม่น้ำโรคี่ ดังเรื่อยๆ เอื่อยๆ ตลอดวัน-คืนมากมายไม่สามารถ
นับได้ เหมือนไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ล้าแรง หมดพลัง สิ้นแบตเตอรี่ เป็นมนต์ขลัง เป็นเสน่ห์ ทำให้ผู้มาเยือนทุกคนต้องหาโอกาส
ในชีวิตหวนคืนกลับมาฟังเสียงนี้ อีกครั้ง และอีกครั้ง

การมาครั้งนี้ของผู้เขียน เป็นการมาโดยวางแผนอย่างรอบคอบ เกิดขึ้นในมโนสำนึกครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ใช่การบังเอิญ หรือจำเป็นต้องมา
ถือเป็นพรด้วยซ้ำสำหรับการได้โอกาสมาสัมผัสสถานที่นี้อีกครั้ง

ชอบ พระแก้ว สีผ่ององค์นี้เหลือเกิน รู้สึกมีความสุขทุกครั้งที่ได้กราบลงตรงหน้าพระพักตร์ ค่อยๆ พิศพิจารณาความลงตัวในความงดงาม
รูปแบบปฏิิมากรรม ความสว่างผุดผ่องในองค์พระ มีมนต์ขลัง เปี่ยมเสน่์ห์มากมายอย่างบอกไม่ถูก บางครั้งแทบลืมก้มกราบก่อนได้พิศมอง
ที่พระพักตร์อันสวยสง่านั้น เหมือนร่างกาย จิตใจถูกสะกด ต้องมนต์ให้แน่วนิ่ง ณ ขณะนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่ง จึงได้ตื่นจากฝันจินตนาการ แล้วก้มลงกราบด้วยความรู้สึกยอมรับ ศิโรราบในความงดงามดุจเทพนิมิตร ซึ่งไม่น่าเิกิดขึ้นจริงในมนุษยโลก และ ณ สถานที่ห่างไกล สุดแสนทุรกันดารเช่นนี้

ชาวกะเหรี่ยงเรียกองค์พระแก้วนี้ว่า "ไจ่เดิ่งสะเดิ่งท่อง" แปลได้ความว่า "พระพุทธรูปอันเป็นมิ่งขวัญ เป็นจิตวิญญาณ เป็นชีวิต เป็นลมหายใจ"
ฉะนั้นจึงให้ความเคารพรักอย่างมาก เมื่อมีกิจกรรมใดเพื่อพระแก้วแล้ว ชาวกะเหรี่ยงร่วมกันอย่างพร้อมเพรียงไม่ว่าเวลาใดก็ตาม
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ทุกปี เป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ของชาวกะเหรี่ยงตำบลไล่โว่ ปรัมพิธีจะถูกสร้างอย่างวิจิตรบรรจงด้วยไม้ไผ่บริเวณหมู่บ้าน เพื่ออัญเชิญ ประดิษฐานพระแก้วสำหรับพิธีสรงน้ำประจำปี ปัจจุบัน มีผู้ร่วมพิธีนี้มาก หลากหลายชาติพันธุ์ มากพอๆ กับชาวกะเหรี่ยงที่มาร่วมพิธี
และยาวนานตลอดค่ำคืนสำหรับมหรสพสมโภชองค์พระแ้ก้ว

ในความทรงจำเมื่อครั้งร่วมพิธีสรงน้ำ้พระแ้ก้ว สิ่งที่สนุก ประทับใจ และตื่นเต้นที่สุดของคนหนุ่ม คือ การได้ยลโฉมแม่สาวชาวกะเหรี่ยงเลือดบริสุทธิ์ในชุดพื้นบ้านกะเหรี่ยง หลายรูปแบบ หลากสีสัน ผัดหน้า ทาแป้ง ชโลมน้ำหอม ทั้งสาวน้อย สาวใหญ่ ทั้งสวยเด่น สวยหลบ มือถือขันน้ำปรุง เข้าแถวตามแม่ ตามยาย เพื่อสรงน้ำพระแ้้ก้วอย่างเป็นระเบียบ...น่าเสียดายไม่ได้บันทึกภาพ ด้วยความตะลึงงันในความงามแบบบริสุทธิ์ของแม่สาวชาวป่า เนื้อนวล ผิวผ่อง ยิ้มบริสุทธิ์ ดวงตาใสซื่อ คำพูด คำตอบตรงไป ตรงมา จะทักด้วยภาษาไทย หรือภาษาพื้นบ้านกะเหรี่ยง ล้วนได้รับคำตอบกลับมา หากนางใดไม่คุย หรือหลบตา อย่าทักว่าสาวเจ้าเขาหยิ่ง มีมานะ ถือทิฎฐิ แต่นั่นคือ ความเหนียมอายที่ควรบันทึก จดจำเก็บเอาไว้ เพราะยากที่จะได้พบ และรู้สึกบนโลกใบนี้ ในเวลาเช่นนี้



พระแก้วองค์นี้ เป็นของขวัญรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว พระราชทานแด่พระศรีสุวรรณคีรีที่ 5 เมื่อครั้งร่วมพิธีถือน้ำิิพิพัฒน์ัสัจจา
ที่เมืองกาญจนบุรี ท่านได้อัญเชิญโดยเรือ ประดิษฐาน ณ หมู่บ้านสเนพ่อง อันเป็นเมืองของเจ้าเมืองสังขละบุรีขณะนั้น จวบจนปัจจุบัน
และเมื่อปี พ.ศ. 2545 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ได้สร้างมณฑปถวาย พร้อมลิขิตถึงหมู่บ้านว่า
"พระแก้วไม่ควรอัญเชิญไปสถานที่อื่น ควรประดิษฐาน ณ หมู่บ้านแห่งนี้"


งาช้างคู่นั้น

"คุณย่าก่งเปี้ยง" ลูกสาวคนหนึ่งของพระศรีสุวรรณคีรีที่ 5 เป็นเจ้าของช้าง และงาช้างแกะสลักอันปราณีตคู่นี้
งาช้างคู่นี้ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านแห่งนี้ก่อนการเกิดของพระอธิการซ่วยเก่งหยี่ จารุธมฺโม เจ้าอาวาสวัดสเนพ่อง ซึ่งปัจจุบัน อายุ 57 ปี

สมัยหนึ่งเมืองสังขละบุรี มีช้างอยู่ดาษดื่นมาก เพื่อเป็นพาหนะ บรรทุกข้าวเปลือก ข้าวสาร ช่วยทำงานในไร่นา ลากซุง ลากไม้ และเป็นสิริมงคลแก่ผู้เลี้ยง ทั้งบ่งบอกตำแหน่ง หน้าที่ และฐานะของผู้เป็นเจ้าของ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีพาหนะอื่นสะดวก สบาย
บรรทุกสิ่งของน้ำหนักมากๆ ได้ดีเท่า หากเปรียบเทียบกับพาหนะปััจจุบัน ช้างในอดีต ก็คือ รถสิบล้อในปััจจุบัน
ต่างกันที่เลี้ยงช้างแล้วได้งาไว้ทำประโยชน์เมื่อมันตายไป เหมือนช้างของคุณย่าก่งเปี้ยงที่น่ารักท่านนี้

เมื่อช้างของ "ย่าก่งเปี้ยง" ตาย ไม่ทราบสาเหตุการตาย แต่สันนิฐาษว่า เป็นการตายโดยธรรมชาติ ไม่ใช่อุบัติเหตุ หรือถูกฆ่าตาย
ยายได้ตัดงาช้างคู่นั้นถวายแด่พระพุทธศาสนา ทางวัดได้ส่งงาช้างทั้งคู่ยังเมืองมัณฑะเลย์ เมืองหลวงประเทศพม่าขณะนั้น ซึ่งเป็นแหล่ง
วิทยาการ ศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ รวมถึงศิลปะการแกะสลักงาช้างด้วย จึงสันนิฐานเพิ่มเติมว่า นายช่างพม่าน่าจะเป็นผู้บรรจงแกะสลักงาช้างคู่นี้

หากรูปปั้นเดวิดโชว์จู๋หด ของไมเคิล แองเจลโล ยืนสง่าที่เมืองฟลอเรนต์ ประเทศอิตาลี เป็นหนึ่งในปฏิมากรรมรูปลอยที่สวยเด่นของเมืองนั้น งาช้างคู่วัดสเนพ่องก็เป็นหนึ่ง ณ อำเภอสังขะบุรี จังหวัดกาญจนบุรีนี้เช่นกัน

งาช้างแกะสลักปราณีตคู่นี้ดูสวยเด่นด้วยมีองค์พระแก้วประดิษฐานอยู่เบื้องบน พระแก้วดูงามเลิศเพราะมีงาช้างทั้งคู่ตั้งอยู่เบื้องล่างเช่นกัน
เหมือนเม็ดพลอยบนแหวนทอง กระต่ายบนดวงจันทร์ ราชินีเคียงคู่องค์ราชันย์ เฉกฉะนั้น
"จะให้บรรยายอย่างไรถึงรสชาติโภชนาอันทิพย์ที่ไม่มีในมนุษยโลกนั้น ถึงความอร่อย และรสชาติของมัน"

าลาการเปรียญสามัคคี

ศาลาวัดโดยทั่วไปของชาวกะเหรี่ยงแต่ก่อน มักสร้างด้วยไม้ไผ่ซึ่งเป็นความชำนาญของช่างกะเหรี่ยง มักไม่ถาวรคงทน อายุการใช้งานไม่นาน
ฉะนั้น ปี พ.ศ. 2512 หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม พร้อมกำนันไต่เลอะ กำนันตำบลไล่โว่ ขณะนั้น ได้ร่วมกันชักชวนช่างชาวมอญ ชาวกะเหรี่ยง
ชาวไทย สร้างศาลาไม้ล้วนแบบถาวรขึ้น ณ วัดสเนพ่อง เป็นอาคารใหญ่ขนาดกลาง มีโครงสร้างแข็งแรง เป็นสถานที่ประดิษฐานพระแก้ว ซึ่งเ็ป็น
มิ่งขวัญของชาวตำบลไล่โว่ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปจนวันนี้

ศาลาได้รับการดูแล ปัดกวาด เช็ดถู ทำความสะอาดเป็นอย่างดี สร้างความชื่นใจ ประทับใจ ให้กับผู้มาเยือนทุกคนตลอดทุกเวลา
เป็นศาลาหลักแห่งเดียวภายในบริเวณวัด ทำหน้าที่ทุกอย่างเหมือนศาลาวัดทั่วไปของชาวกะเหรี่ยงอำเภอสังขละบุรี
สิ่งที่น่าสนใจ และประทับใจอีกอย่างรองจากพระแ้ก้วภายในศาลาแห่งนี้ คือ เสาขนาดมหึมาของศาลา ซึ่งทุกต้นมีขนาดใหญ่โตมาก เป็นเครื่องหมาย และข้อพิสูจน์ความศรัทธาอันใหญ่หลวงที่ชาวกะเหรี่ยงมีต่อพระพุทธศาสนา และต่อองค์พระแก้วนั้น

อีกทั้งเจ้าอาวาสทุกรูปจำพรรษา จำวัดบนศาลาแห่งนี้ ทำหน้าที่ดูแลความสะอาด เป็นยามรักษาความปลอดภัยให้พระแก้ว
ซึ่งแม้ได้รับการดูแล เก็บรักษาิอย่างดี แต่ความไม่ประมาทในความปลอดภัย เป็นเรื่องที่เจ้าอาวาสทุกรูปใส่ใจเสมอมา

เจ้าอาวาส

พระอธิการซ่วยเก่งหยี่ จารุธมฺโม พรรษา 10 อายุ 57 ปี ชาวบ้านสเนพ่อง รับหน้าที่สมภาร ดูแลอาวาสนับวันนี้ได้ 3 ปี
ท่านเล่าให้ฟังว่า "ท่านเกิดมาพร้อมความภาคภูมิใจในความเป็นชาวบ้านสเนพ่อง อำเภอสังขละบุรี แม้มีความจำเป็นเดินทางไกลยังท้องถิ่นอื่น
แต่ไม่วายคิดถึงบ้าน อยากกลับมาอยู่ กลับมาช่วย กลับมาสานต่อเจตจำนง ความเชื่อบรรพบุรุษตัวเอง และกลับมาฟังเสียงน้ำไหล"

"ธรรมชาติที่บริุสุทธิ์ สิ่งแวดล้อมที่สวยงาม ผู้คนที่ใสซื่อ มีอิทธิพลช่วยผลัดดันให้เกิดสติ สร้างสมาธิ บำเพ็ญบารมีได้" ท่านกล่าว

แม้ธรรมชาติมีความลี้ลับซ่อนเร้นมากมาย
แต่ปราชญ์ผู้มีศีลมากมาย ก็ค้นพบความลี้ลับที่ซ่อนเร้นมากมายในธรรมชาตินั้นได้

ยินดีต้อนรับสู่บ้านสาวสวย ธารน้ำใส ภายในกำแพงแห่งผาไม้แดง
ขอบพระคุณมาก

Google
Search WWW Search truehits.net
ติดต่อสอบถาม : Saantipaab@hotmail.com, inside59@hotmail.com, Jothikhong@hotmail.com