ากแบ่งตำบลหนองลู 2 ฝั่ง คือ ตะวันออก กับตะวันตก หมู่บ้านห้วยมาลัย ถือเป็นศูนย์กลางตำบลหนองลูฝั่งตะวันตก การสัญจรทั่วสารทิศฝั่งตะวันตกตำบลหนองลู ต้องผ่านหมู่บ้านแห่งนี้เสมอ หรือกระัทั่งการเดินทางข้ามชายแดนไทย-พม่า จำเป็นต้องอาศัย และผ่านหมู่บ้านแห่งนี้ ทั้งเป็นศูนย์กลางตลาด โรงพยาบาล โรงเรียน การคมนาคม และการนัดหมายเพื่อภารกิจทางราชการ
ฉะันั้น หากถามชาวตำบลหนองลู โดยเฉพาะหนองลูฝั่งตะวันตก ทุกคนต้องตอบว่า "ต่างเคยผ่าน และรู้จักหมู่บ้านห้วยมา่ลัยดี ทั้งข้อมูลโดยละเีอียด และโดยประมาณ "

ชาวบ้านห้วยมาลัยมีี่บ้านติดถนนใหญ่ จึงนิยมค้าขาย มีภาพร้านค้าทั่วไปตลอดถนนของหมู่บ้าน ไม่ว่าร้านเล็ก ร้านใหญ่ ของชำร่วย อาหารสด อาหารแห้ง เครื่องดื่นยี่ห้อต่างๆ หรือกระทั่งอู่ซ่อม บำรุงรถจักรยานยนต์ แต่เกษตรกรรม สวน ไร่ นา เป็นอาชีพหลัก บางส่วนเป็นพนักงานสถานพยาบาลเอกชน และบ้างรับราชการ แต่อาชีพที่ไม่ควรมองข้าม หรือขาดไม่ได้สำหรับหมู่บ้านแห่งนี้ คือ รับจ้างทั่วไปถางวัชพืนตามไร่ สวน ซึ่งเป็นจำนวนส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน ที่น่าสนใจคือ เป็นบุคคลถือบัตร ระบุบุคคลไม่มีสัญชาติไทย



ภาพนักเรียนชายหญิงหนุ่ม-สาวในหมู่บ้าน หรือหมู่บ้านใกล้เคียง จากบ้านใหม่พัฒนา ห้วยกบ ช่องลุ-ชุแหละ กระทั่งเวียคะดี้ จะตื่นแต่เช้า ยืนรอรถโดยสารประจำทาง รถรับ-ส่งนักเรียนตามถนนตลอดสายของหมู่บ้านด้วยรอยยิ้มไร้เีดียงสา หรือบ้างแก่แดด แก่ลม ไปเรียนที่ตัวอำเภอสังขละบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 20 กิโลเมตรทางตะวันออก เป็นภาพที่น่ารัก ชวนประทับใจ ก่อให้เกิดความรู้สึกอยากกลับสู่ความเป็นวัยรุ่น วัยละเมอเพ้อรักอีกครั้ง เป็นภาพที่เห็นทุกวันปกติทำงานจันทร์-ศุกร์

เช้านี้ ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ 19 พฤศจิกายน 2552 เป็นวันครบรอบ 1 ปี การจากไปของบิดาผู้เป็นที่เคารพรักของผู้เขียน-หนุ่มบ้านเวียคะดี้
จึงตื่นแต่เช้าร่วมกันทุกคนในบ้าน เพื่อตักบาตร ส่งสำรัีบขึ้นวัดเวียคะดี้ ทำบุญ อุทิศกุศลให้พ่อผู้เป็นที่รัก จึงถือโอกาสนั่งรถมอเตอร์ไซค์คู่ใจ ไปหมู่บ้านห้วยมาลัย เพื่อชมบรรยากาศการจับ-จ่าย ซื้อของของเพื่อนสหธรรมิกตำบลหนองลูฝั่งตะวันตก ณ ลานหน้าวัดห้วยมาลัยอันเป็นภาพ และกำหนดการที่มีทุกวันพฤหัสบดี ไม่ว่าฝนตก หมอกจัด ใครจะเป็น จะตาย หรือได้โอกาสไปเกิดใหม่ ตลาดนัดหน้าลานวัดแห่งนี้ก็ต้องจัดขึ้น ไม่มีหยุด และไม่มีใครอยากหยุดด้วย เพราะนั่น คือ ปาก ท้อง รายได้ ธรรมเนียมปฏิบัติกันทุกวันพฤหัสบดีโดยปริยาย

สินค้าพื้นบ้านเช่น กบภูเขาตัวใหญ่เหมือนทานกระบือที่โตเต็มที่เข้าไปหนักเป็นกิโล ปลาลำห้วยรมควัน หมูเลี้ยงเอง ไก่ในครัว ผักสวนหลังบ้าน พริกไร่ หัวหอม กะเทียม ดอกไ้ม้สด ขนมพื้นเมือง วางขายบนโต๊ะเก่า ๆ ให้เลือกซื้อ ให้ต่อจำนวนมาก เช้านี้มีโอกาสซื้อข้าวเหนียวดำนึ่งคลุกมะพร้าว ไม่ใ่ส่น้ำตาล ห่อละ 5 บาท ปริมาณค่อนข้างมาก หากเปรียบกับที่อื่นที่เคยซื้อ
รสชาติอร่อย มัน หวานในปาก

ทุกครั้งมีโอกาสเดินตลาดนัดวันพฤหัสหน้าลานวัดห้วยมาลัย สิ่งที่ชอบที่สุดคือ ดูผู้คน บางคนสังเกตได้เลยว่า หน้ายังไม่ได้ล้าง
ขี้ตายังไม่ได้ชำระ แน่นอนหากดวงดี ได้พูดคุยถูกคนในระยะเผาขน ใกล้ๆ จะต้องได้สัมผัสกลิ่นที่สดใหม่ ผสมผสาน ขัดเกลา คัดสรรเป็นเวลานานทั้งวัน ค้างคืน ซึ่งนั่นจะทำให้เช้าวันพฤหัสบดีวันนั้นเป็นสิริมงคลเพื่อการเริ่มต้น หรืออาจจะเหี่ยวแห้งตายไปเลย
พ่อค้า แม่ขาย หลากเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ไทย กะเหรี่ยง มอญ พม่า แขก เหมือนนัดหมายกัน เป็นธุระที่ไม่สามารถขาดได้ ต้องมา
นั่ง มาเดิน มายืนแสดงตัว ณ สถานที่แห่งนี้ทุกเช้าวันพฤหัสบดี เป็นภาพที่เห็นประจำ รู้สึกมีความสุขดี

การเดินทางมาหมู่บ้านแห่งนี้เป็นเรื่องสะดวกมาก เพราะตลอดสายระหว่างตัวเมืองสังขละบุรี ถึงหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง สะอาด กว้างขวาง
แต่คนมีอาการมึนเมา สภาพจิตใจไม่ปกติเนื่องจาก สอบตก อกหัก รักคุด ตุ๊ดไม่มอง จิตใจกำลังอ่อนล้า ไม่ควรขับรถเอง เพราะถนนมีสภาพโค้งไป-มา ขึ้น-ลง หลายแห่งมาก อาจเป็นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ เพราะุถนนสายนี้มีประวัติ และสถิติอุบัติเิหตุเกิดขึ้นเรื่อยๆ ไม่อยากให้ท่านเป็นหนึ่งในสถิติที่สร้างความเศร้าสลด และเพิ่มบรรยากาศความน่ากลัวในค่ำคืนให้กับถนนสายนี้อีก

อย่างไรก็ตาม ความบริสุทธิ์ของอากาศ ความสวยงามของทิวทัศน์ธรรมชาติสองข้างทาง ความโดดเด่นของภูเขา ต้นไม้ แม่น้ำ และลำห้วย ระหว่างเดินทาง เป็นเรื่องที่บางครั้งอาจทำให้หลงลืมตัวเหมือนกันว่า "กำลังอยู่บนถนนด้วยความเร็ว"
.............................................................................................................................................................................................................................................................................

คำว่า "ห้วยมาลัย" เป็นคำไทยโดยแท้จริง โดยไม่ได้แปลจากภาษาท้องถิ่นเหมือนหมู่บ้านห้วยกบ หรือแผลงจากคำในภาษาท้องถิ่น เช่นหมู่บ้านนิเถะ หรือสเนพ่อง หมู่บ้านนี้สร้างขึ้นเพราะโครงการก่อสร้างเขื่ือนวชิราลงกรณ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ระหว่างปี พ.ศ. 2523-2527 ดังเช่นหมู่บ้านส่วนใหญ่ใื้นอำเภอสังขละบุีรีปัจจุบัน โดยหมู่บ้านเก่า จากอำเภอสังขละบุรีเก่า ที่ทางการ กฟผ.
จัดสรรที่ดินให้อพยพย้ายมาอยู่ในหมู่บ้านห้วยมาลัยปัจจุบันนี้มี 3 หมู่บ้าน คือ

- หมู่บ้านเกิ่งสะดา
- หมู่บ้านหนองปะโด่ง
- หมู่บ้านละว้า ปัจจุบันผู้ใหญ่บ้านนายเจริญ สง่างาม เป็นชาวไทยเชื้อสายละว้า จากหมู่บ้านละว้า ซึ่งพูดภาษาละ้ว้าได้เป็นอย่างดี

ห้วยมาลัย ตั้งอยู่ ณ หมู่ 6 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุีรี อยู่ห่างตัวอำเภอสังขละบุรี 20 กิโลเมตรโดยประมาณ ทางตะวันตก
ตั้งอยู่ตรงกลางของหมู่บ้านในบริเวณนี้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านใหม่พัฒนา ห้วยกบ ช่องลุ และเวียคะดี้
ชาวบ้านมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพราะเป็นหมู่บ้านแห่งเดี่ยวในอำเภอสังขละบุรีที่มีโบสถ์ของพี่น้องชาวคริสเตียน
ตั้งอยู่ 2 แ่ห่งในบริเวณใกล้เคียง และทุกวันอาทิตย์ ได้เห็นภาพพี่น้องชาวคริสเตียนเข้าโบสถ์ตลอดทั้งวันเป็นระยะๆ กิจกรรมใดๆ ไม่ว่าร้านค้า
ร้านอาหาร การงานในบ้าน และนอกบ้านจะถูกปิด หรือพักไว้ เพื่อร่วมกิจกรรมพร้อมเพรียงกันในโบสถ์ที่มีอย่างเพียงพอ 2 แห่งในบริเวณหมู่บ้านห้วยมาลัย ดังเช่นพี่น้องชาวพุทธศาสนิกซึ่งพร้อมเพรียงกันทำบุญ บำเพ็ญกุศล ณ วัดห้วยมาลัยอันเป็นศูนย์กลาง
การประกอบกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาด้วยรอยยิ้ม และด้วยหัวใจ
.......................................................................................................................................................................................................................................................


วัห้วยมลั

สิ่งที่แตกต่างระหว่างวัดอื่นในพื้นที่ตำบลหนองลูตะวันตก กับวัดห้วยมาัลัย คือ "พระเจดีย์สุพรรณภูมิ" ซึ่งมีความสวยงาม โดดเด่น ประดิษฐานอย่างสง่าภายในบริเวณวัด แต่...หากได้รับการถมดินให้สถานที่สูงขึ้นสักนิด พระเจดีย์ใหม่องค์นี้ คงเป็นปูชนียสถาน
ที่สมบูรณ์แบบที่สุดอีกองค์หนึ่งในอำเภอสังขละบุรี เป็นพระเจดีย์องค์ใหม่ที่สุดในพื้นที่ ซึ่งสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2549
ด้วยการออกแบบการสร้างโดยอดีตเจ้าอาวาส พระอธิการสันติ สนฺตกาโร มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา

วัดห้วยมาลัย เป็นวัดขนาดเล็ก ได้รับการประกาศเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเืดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ลงนาม นายมานะ รัตนะโกเศศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการขณะนั้น ซึ่งทางวัดได้เก็บรักษาประกาศนั้นอย่างดีภายในกรอบกระจก ตั้งแสดงให้เห็นบนศาลาการเปรียญ
วัดตั้งอยู่ติดถนนใหญ่ ตรงกันข้ามโรงเรียนบ้านห้วยมาลัย อันเป็นศูนย์กลางการเรียนของเยาวชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลหนองลูตะวันตก โดยมีป้ายชื่อวัดแกะสลัก ลงรักปิดทองขนาดใหญ่ด้วยวิธีการ และลายมือชาวบ้าน แขวนให้อ่านอย่างสง่าบนซุ้มประตูวัด

ภายในบริเวณวัด ได้รับการสร้างอาคารสถานที่จำเป็นสำหรับสังฆกรรม พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเกือบครบทั้งหมด ยกเว้น โบสถ์
ไ่ม่ว่าจะเป็น ฌาปนสถาน ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์



วัด ได้รับการสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2526 เมื่อสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์ อำเภอทองผาภูมิ ซึ่งมีผลทำให้ชาวบ้านในอำเภอสังขละบุรีเก่า
ทั้งหมด ต้องอพยพ ย้ายหนี ไปยังถิ่นที่อยู่ใหม่ อันเป็นสถานที่ที่ทาง กฟผ.ได้จัดสรร เลือกไว้ให้ คือ หมู่บ้านห้วยมาลัยปัจจุบัน

ความเดือดร้อนอย่างสุดแสนสาหัส ยากลบเลือนครั้งนั้น ไม่เพียงแต่ชาวบ้านผู้ต้องหนีน้ำเท่านั้น แม้ชาวบ้านที่มีถิ่นที่อยู่ ที่ทำกินเดิมในพื้นที่
หมู่บ้านห้วยมาลัยครั้งนั้น ต่างก็ได้ัรับความเดือดร้อน คำโกหก คำหลอกลวงด้วยกันทั้งสิ้นทุกคน ซึ่งหมายความว่า...
พื้นที่หมู่บ้านห้วยมาลัยแห่งนี้ เป็นที่ดิน ที่ทำกินเก่าก่อนของชาวบ้านผู้มีถิ่นที่อยู่เก่าก่อนในบริเวณใกล้ คือ หมู่บ้านเวียคะดี้ (เท่าที่ทราบ)

การจัดสรรครั้งนั้น ได้ซ้อน ได้ทับที่ดิน ที่ทำกินของชาวบ้านหลายครัวเรือนมาก ทั้งสวน ไร่ นา โดยกล่าว คล้ายรับปากเพียงว่า "เดี๋ยวจะชดใช้ให้้ด้วยสิ่งชดใช้อย่างอื่น-อาจเป็นเงิน"
แต่...จวบจนปัจจุบัน เจ้าของที่ดินเก่าหลายท่านได้ตาย ไปเกิดใหม่แล้วหลายรอบ สิ่งที่พวกเขาได้รับอย่างเดียวคือ
"คำโกหก คำหลอกลวงอันแสนเจ็บปวด"

"หากลืมในสิ่งที่ได้พูด วันนี้ได้กระเทาะความทรงจำอันเก่าแก่ที่ไม่มีความหมาย และไร้ความสำคัญ
หากสำนึกกับคำโกหก คำหลอกลวง วันนี้ยังไม่สายที่ท่านจะได้ชำระกับพวกเขา แ่ต่ท่านต้องตายก่อน เพื่อชำระ และชดใช้ในโลกหน้า - กฟผ."


ด้วยความเป็นวัดขนาดเล็ก เจ้าอาวาสผู้สมภาร ผู้เป็นใหญ่ในอาวาสไม่มีความโดดเด่นในด้านใดเป็นพิเศษ
แต่เมื่อได้สัมผัส อยู่ใกล้ สนทนาด้วย ชวนให้รู้่สึกอบอุ่น ประทับใจ เป็นกันเองเหมือนพระผู้สันโดษ ตามวิถีแห่งพระธรรมโดยทั่วไป อาคารเสนาสนะส่วนใหญ่สร้างอย่างเล็ก น่ารัก ยกเว้นพระเจดีย์ซึ่งถือว่าใหญ่ในพื้นที่ โดยเฉพาะสีทองที่องค์พระเจดีย์
ชวนให้รู้สึกว่า กำลังเดินอยู่โลกในแห่งความฝันและจินตนาการโดยแท้จริง



ระเจดีย์สุพรรณภูมิ

สนามบินสุวรรณภูมิมีชื่อพ้องกับพระเจดีย์ หรือพระเจดีย์มีชื่อพ้องกับสนามบิน เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม ค้นหา ตรวจสอบอีกครั้ง
แต่สถานที่ตั้ง ทุนการสร้าง สถาปนิก และจุดประสงค์การสร้าง ล้วนโดยสิ้นเชิงแตกต่างกัน
รูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นไปทางมอญ-พม่า เพราะชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงมีความชำนาญ และคุ้นเคยกับสถาปัตยกรรมชนิดนี้
สถาปัตยกรรม หรือศิลปกรรมแขนงใดก็ตามในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี ส่วนใหญ่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นแบบมอญ-พม่าเกือบทั้งหมด

พระเจดีย์สร้างเสร็จสมบูรณ์เื่มื่อปี พ.ศ. 2549 โดยนายช่างส่วนใหญ่ในพื้นที่ แต่ผู้ที่ออกแบบทั้งหมดคือ อดีตเจ้าอาวาส
พระอธิการสันติ สนฺตกาโร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอดีตเ้จ้าอาวาสรูปซึ่งออกแบบเองนั้น ได้อัญเชิญจากประเทศพม่า
ก่อนการสร้างพระเจดีย์สำเร็จเสร็จสิ้น

เวลาค่ำทุกวันอุโบสถ พุทธศาสนิกชนบริเวณใกล้ ร่วมกันเวียนเทียน ไห้วพระ สวดมนต์ เดินจงกรมรอบพระเจดีย์
ฐานพระเจดีย์จะเต็มด้วยเทียนขนาด และสีต่าง ๆ ที่สว่างไสวจากการบูชาของสหธรรมิกพุทธศาสนิกชนผู้ใฝ่ธรรม

าลาการเปรียญ

หน้าที่ การใ้ช้งาน รูปแบบการก่อสร้าง และสถานที่ตั้ง เป็นเหมือนศาลาการเปรียญตามวัดทั่วไปในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี เป็นสถานที่หลักในการประกอบกิจกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาของบรรดาพุทธศาสนิกชน และเป็นที่รวมประชุมเพื่อกิจกรรมทางราชการ
ศาลาแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อคราวชาวบ้านจาก 3 หมู่บ้านข้างต้น อพยพหนีน้ำจากหมู่บ้านอำเภอสังขละบุรีเก่าเมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยความช่วยเหลือ
บางส่วนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยครั้งนั้น
โครงสร้่าง และไม้ต่างๆ อันเป็นโครงสร้างหลักของศาลา เป็นวัสดุใหม่ทั้งหมดจากพื้นที่หมู่บ้านห้วยมาลัยปัจจุบัน โดยไม่ได้มีการขน
ย้ายไม้เก่าจากหมู่บ้านเก่า เหมือนหมู่บ้านบ้านใหม่พัฒนาในปีเดียวกัน



ภายในศาลาการเปรียญ ประดิษฐานพระพุทธรูปหลายรูปแบบศิลปกรรม ทั้งแบบไทย มอญ-พม่า เป็นประธานสำหรับกราบไหว้ บำเพ็ญกุศล
พื้่นศาลาได้รับการดูแล ปัด กวาด ขัดถูดูสะอาดทุกเช้า-เย็นโดยพระภิกษุ สามเณรภายในวัด ชวนให้รู้สึกประทับใจ และมีความสุขทุกครั้ง
เมื่อมีโอกาสเข้าเยี่ยมเยียนท่านเจ้าอาวาส และกราบนมัสการ ไหว้พระประธานบนศาลา


หอสวดมนต์

สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539-2540

หอสวดมนต์ ซึ่งมีโครงสร้างไม้ พื้น และฝาเป็นปูน หน้าต่างไม้ ประตูเหล็ก ภายในบรรจุได้ไม่เกิน 50 คน สำหรับพิธีกรรมต่าง ๆ
ติดตั้งโคมไฟสีทองขนาดกลาง เพื่อความสว่าง และสร้างเสน่ห์ให้เพิ่มขึ้นกับหอแห่งนี้ในยามประกอบกิจกรรมต่างๆ ของวัด

สิ่งที่ชวนให้เกิดความหลงไหล เพลิดเพลินเมื่อเข้ามาเยี่ยมชมหอสวดมนต์แห่งนี้คือ พระพุทธรูปทอง พระพุทธรูปเงินซึ่งประดิษฐาน
ณ ภายในของหอ ได้รับการบูชา กราบไหว้สร้างความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้นทุกเช้าเย็นเวลาทำวัตรสวดมนต์ของพระภิกษุ สามเณร
พระพุทธรูปทั้งสองมีขนาดหน้าตักประมาณ 20 ซม. ไม่แน่ใจว่าสร้างขึ้นจากสิ่งใด แต่มีความสวยงาม รูปร่างลงตัว พระพักตร์นิ่งสงบ
หากเพ่งนานๆ ด้วยความตั้งใจ จะสังเกตเห็นรอยยิ้มที่ค่อยๆ แผ่ออกมาจากพระพักตร์ที่นิ่งสงบนั้นอย่างมหัศจรรย์

เรื่องที่ประหลาดอีกอย่างสำหรับหอสวดมนต์แห่งนี้ คือ วิศวกร นายช่ายผู้สร้าง ล้วนแล้วแต่เป็นพระภิกษุชาวกะเหรี่ยงทั้งสิ้น
โดยทางวัดไม่ต้องเีสียเงินค่าจ้างช่างใดๆ เลย ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวในอำเภอสังขละบุรี "หอสวดมนต์วัดห้วยมาลัย"

จ้าอาวาส

สำหรับวัดใหม่ที่เพิ่งสร้างขึ้นไม่เกิน 30 ปี อย่างวัดห้วยมาลัย การมีเจ้าอาวาสปกครอง ดูแลทั้งหมด 4 รูป โดยนับรูปปัจจุบันด้วยนั้น
เป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่ง รายนามพร้อมปีการดูแลปกครองวัดตั้งแต่รูปแรกจนปััจจุบันดังนี้

- พระมุเจอ่อง พ.ศ.2526-2532 มรณภาพด้วยโรคชรา
- พระเสาจะ พ.ศ.2532-2538 มีความจำเป็นต้องลาสิกขา
- พระอธิการสันติ สนฺตกาโร 2539-2548 มรณภาพด้วยโรคมะเร็ง
- พระอธิการกัมพล ฐิตญาโณ 2549-ปััจจุบัน

ความทรงจำสำหรับพิธีบำเพ็ญกุศลฌาปนกิจเจ้าอาวาสทั้งสองยังกระจ่างในความทรงจำของผู้เขียน
เพราะเป็นวัดแห่งเดียวหลังการสร้างหมู่บ้านใหม่ในอำเภอสังขละบุรีใหม่ที่เจ้าอาวาสมรณภาพในช่วงระยะเวลาไล่เรี่ยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
มรณกรรมของเจ้าอาวาสรูปที่ 3 นั้น เป็นการมรณะตอนวัยหนุ่ม ยังความเศร้าโศก เสียใจแก่บรรดาพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวาง เพราะท่านเป็นพระนักพัฒนาที่สามารถออกแบบสร้างพระเจดีย์สุพรรณภูมิ และเป็นส่วนสำคัญในการสร้างหอสวดมนต์

พระอธิการกัมพล ฐิตญาโณ เจ้าอาวาสรูปปััจจุบัน พระหนุ่มชาวกะเหรี่ยงจากประเทศพม่า มีความมักน้อย สันโดษ พูดน้อย เปิดเผย
จริงใจ เป็นภิกษุเก่าภายในวัดห้วยมาลัย ผ่านเรื่องราวต่าง ๆ เห็นภาพต่างๆ ผ่านสุข-ทุกข์ เคียงคู่กับวัดตั้งแต่ิอดีตจนปัจจุบัน มีความคุ้นเคยกับอดีตเจ้าอาวาสองค์ทุกรูป ได้ร่วมสร้าง ร่วมพัฒนาวัดเคียงข้างท่านเหล่านั้นเสมอมา

ฉะนั้น วันนี้วัดห้วยมาลัยจึงดูสะอาด สะอ้าน ปลอดโปร่ง โล่งสบาย เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทางพระพุทธศาสนาิ
มีความสุขทุกครั้งที่แวะเยี่ยมและได้พูดคุยกับท่าน
การไ้ด้พบ สนทนากับปราญช์ผู้มีศีลนั้นเป็นบุญ เป็นกุศล เพราะวาจาจากคำสนทนาโดยปราชญ์ผู้มีศีลเหล่านั้น มีอำนาจส่งสู่สุคติได้ โดยบางครั้งไม่ได้เกิดจากความตั้งใจเลย

ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความจริงใจ
ขอบพระคุณอย่างมาก

Google
Search WWW Search truehits.net
ติดต่อสอบถาม : Saantipaab@hotmail.com, inside59@hotmail.com, Jothikhong@hotmail.com