คำว่า "ห้วยกบ" แปลจากภาษาท้องถิ่นว่า "เกริ่งสะแง" ซึ่งเป็นภาษามอญ
ส่วนชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงเรียกพื้นที่บริเวณหมู่บ้านนี้ว่า "ที่พูดี" ซึ่งแปลได้อย่างเดียวกัน คือ "ห้วยกบ"

หมู่บ้านห้วยกบเป็นหมู่บ้านที่น่าสนใจอีก 1 หมู่บ้านในพื้นที่อำเภอสังขละุบุีรี เนื่องจากมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ชาวไทยอีสาน ชาวมอญ ชาวพม่า ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ นับจนปัจจุบันประมาณ 25 ปี

หมู่บ้านห้วยกบ เป็นหมู่บ้านใหม่อีก 1 หมู่บ้าน สร้างขึ้นด้วยเหตุผลเดียวกับหมู่บ้านอีกหลายแห่งในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี คือ อพยพ หนีำน้ำจาก
การสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในช่วง ปี พ.ศ. 2523-2527 โดยส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง
จากหมู่บ้านทิม่องทะ อำเภอสังขละบุรีเก่า ส่วนเชื้อชาิติอื่นอพยพ ย้ายถิ่นฐานเข้ามาภายหลัง

ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ไร่ นา สวนยาง รับราชการ และค้าขาย
ไม้กวาดดอกหญ้า เป็นสินค้าที่โดดเด่น สร้างรายได้ สร้างชื่อเสียงกับหมู่บ้าน และได้รับการยอมรับจากผู้ใช้อย่างกว้างขวาง

หมู่บ้านตั้งอยู่ ณ หมู่ 4 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งห่างจากตัวเมืองสังขละบุรีประมาณ 25 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตก
ถนนลูกรัง ตลอดระยะทาง เป็นวิธีเดียวสำหรับการเข้าหมู่บ้าน
สตรีมีครรภ์ และคนชราไม่ควรนั่งรถจักรยานยนต์เข้าหมู่บ้านเป็นอันขาด เพราะความกันดารของสภาพถนนอาจมีผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ได้ คนชราอาจช็อก เป็นลม หมดสติ เพราะฝุ่นฟุ้งจากถนนลูกรัง ยังให้สมองขาดออกซิเจน ตกรถ แล้วสิ้นใจได้อย่างง่าย ๆ
เฉพาะการเดินทางและสภาพความกันดารของถนนเท่านั้นที่ยาก ลำบาก ไม่ใช่ในหมู่บ้านและบริเวณหมู่บ้าน ความรู้สึกจะเปลี่ยนโดยทันที
เมื่อการเดินทางบรรลุถึงที่หมาย

ภายในบริเวณหมู่บ้านเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียน วัด สถานีอนามัย บ้านเรือน สวน นา ซึ่งได้รับการดูแลอย่างดี
สะอาด ปลอดโปร่ง โล่งสบาย เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง เ่ช่น กางเต้นท์ ดูดาว หรืออาจนั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรมก็ทำได้
..........................................................................................................................................................................................................................................................................


วัดห้วยกบ

ความรู้สึกสงบ เย็น และประทับใจเป็นความรู้สึกแรกเมื่อมาถึงวัดแห่งนี้
เพราะภาพแรกเมื่อมองไกลๆ คือ ต้นไม้ที่ขึ้นปกคลุม คลื้มทั่วทั้งบริเวณวัดซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ ฝั่งตะวันตกของหมู่บ้าน
และเมื่อได้เข้าสู่บริเวณวัด ได้พบพระภิกษุสงฆ์ สามเณร กำลังช่วยกันทำความสะอาด ปัด กวาดใบไม้บริเวณใต้ต้นไม้
ที่ขึ้นปกคลุมวัดที่เห็นไกลๆ นั้น
ภาพ และเสียงที่ไม่รู้จักลืมจนวันนี้ คือ ภาษาัอังกฤษด้วยสำเนียงสากล (International accent) ถูกใช้สนทนาด้วยรอยยิ้มแห่งมิตรภาพ โดยพระภิกษุกลุ่มหนึ่งซึ่งพูดคุยกันอย่างสงบระหว่างกิจกรรมการทำความสะอาด

ด้วยความสงสัยว่า พระภิกษุกลุ่มหนึ่ง ณ วัดเช่นนี้ เหตุกระไรหนอ จึงมีึความรู้ ความสามารถสนทนาภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว
ด้วยสำเนียงที่น่าฟัง เพราะนานๆ ครั้งได้มีโอกาสพบเหตุการณ์เช่นนี้ กับบุคคลเช่นนี้ ในสถานที่เช่นนี้

ความอยากรู้ จึงตัดสินใจเดินอย่างสำรวมเข้าไปหาท่านพร้อมกับคำถามที่ตนเองปรารถนาอยากทราบคือ ท่านพูดภาษาอังกฤษช่างน่าฟังเหลือเกิน
มาจากไหน เป็นภิกษุเชื้อชาติใด อยู่เมืองไทยนานแล้วหรือยัง แล้วท่านมีนามอันน่าฟังว่าอย่างไร

ท่านส่งยิ้มอย่างสมณะผู้สงบ พร้อมตอบคำถามนั้นโดยไม่พิจารณาว่า เราเป็นใคร มาจากใหน ด้วยวัตถุประสงค์อะไร
จึงได้ทราบว่า ภิกษุกลุ่มนั้น หนึ่งในนั้น คือพระภิกษุอาวุโส ทำหน้า่ที่สอนธรรม พร้อมกับแนะนำภาษาอังกฤษให้กับภิกษุ สามเณรภายในวัด
เป็นพระมอญ มาจากเมืองปะกู๋ หรือหงสาวดีที่คนไทยทราบกัน เรียนจบระดับมหาวิทยาลัย มีความรู้ดีเรื่องภาษาอังกฤษ ท่องเที่ยวมาหลายที่
เป็นสัทธิวิหาริกหลวงพ่ออุตตมะแห่งวัดวังก์วิเวการามเมื่อหลายปีมาแล้ว เดินทางมาวัดห้วยกบเพื่อเยี่ยมพระอาจารย์ซึ่งเป็น
เจ้าอาวาสวัดห้วยกบรูปปัจจุบัน
น่าเสียดายที่ไม่ได้บันทึกภาพท่านเก็บไว้ แต่รอยยิ้มนั้นยังตราตรึง และกระจ่างในความทรงจำจนวันนี้
............................................................................................................................................................................... .................................................................................

วัดห้วยกบ บางช่วงเวลาในอดีตถูกทิ้งอย่างโดดเดี่ยว ขาดการดูแล แต่ไม่ถึงขนาดทิ้งให้ร้าง พระภิกษุ สามเณรได้รับความยากลำบาก
เสนาสนะสงฆ์เก่า ทรุดโทรม

ปัจจุบันได้รับการดูแลเอาใจใส่มากขึ้น เนื่องด้วยพระอุตตรสิริ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ท่านเป็นพระภิกษุนักพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์
สอนธรรมเก่ง มีกุศโลบายหลากหลายในการแสดงธรรม มีความรู้ ความสามารถหลายด้าน เพื่อนสหธรรมิกกว้างขวาง อีกทั้งเป็นมิตร
มนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศ อยู่ในกรอบศีลาจารวัตร เป็นที่เคารพ นับถือ



อาคารเสนาสนะชวนให้ประทับใจ เกิดความสงบ เป็นสถานที่บำเพ็ญสมณะธรรม ปฏิบัติธรรม และพักผ่อนภายในวัด คือ
พระเจดีย์ : ตั้งอยู่อย่างสงบบนเนินเล็ก ๆ ที่ไม่สูงนัก สามารถเดินเท้าเข้าถึงได้โดยสะดวกไม่ว่าเพศใด วัยใด
อยู่ทางด้านใต้ของวัด เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เดินจงกรม เงียบ สงบ สัปปายะทั้งสมณะ และฆราวาส โดยด้านหลังพระเจดีย์
มีอาคารสำหรับปฏิบัติธรรม อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ หลบแดด หลบฝน หรือพักผ่อนหย่อนใจ ก็สามา่รถทำได้



อาคารศาลาการเปรียญ : อาคารทรงไทย สร้างจากวัสดุส่วนใหญ่ที่หาได้บริเวณหมู่บ้าน หล้ังคาสังกะสี พื้นปูน เป็นอาคารสำหรับประชุมพระภิกษุสงฆ์ ชาวบ้านในหมู่บ้าน เพื่อประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางราชการ และพระพุทธศาสนา
มีสภาพค่อนข้างเก่า ทรุดโทรม ทำให้รู้ึสึกไม่ปลอดภัย หากได้รับการบูรณะ จะเป็นเรื่องดีทั้งในตัวบุคคล และความรู้สึก



ศาลาหอฉัน : ความประทับใจแรกเมื่อขึ้นบนศาลาหอฉัน คือ พระธรรมอันเป็นหัวใจหลักของพระพุทธศาสนา
แม้จะถูกเขียนด้วยลายมือธรรมดา วิธีการเขียนธรรมดา สีชอล์ก และเพียงบนขื่อของอาคาร แต่คำสอนโดยสรุปอย่างสั้นๆ ได้ใจความ
กระจ่าง และชัดเจน ได้วิ่งทะลุ ตรงเข้าไปในหัวใจของผู้มาเยือนทุกคน โดยไม่มีใครสามารถผ่านภาพนี้ได้ แม้โดยตั้งใจ และไม่ตั้งใจ

ศาลาแห่งนี้เป็นศาลาเก่า่ของหมู่บ้าน ถูกสร้างพร้อมกับการตั้งหมู่บ้าน เมื่อปีพ.ศ. 2526 โดยประมาณ อันเป็นปีที่
ชาวบ้านจากอำเภอสังขละบุรีเก่า ส่วนใหญ่อพยพหนีำ้น้ำขึ้นมายังหมู่บ้านใหม่ซึ่งถูกจัดสรรโดย กฟผ.แห่งประเทศไทย
ทั้งโดยเต็มใจ และจำใจ แต่เชื่อเถอะ่ว่า "มาอยู่เพราะไม่อาจหายใจ และมีชีวิตอยู่ได้ในน้ำ ก็เ่ท่านั้น"

เป็นอาคารสำหรับประกอบภัตกิจ สวดมนต์เช้า-ค่ำ ทั้งเป็นที่ต้ัอนรับสหธรรมิก พุทธศาสนิก แขกเหรื่อที่มาเยี่ยมเยือน
และที่สำคัญพระอุตตระสิริ เจ้าอาวาสวัด จำวัดอยู่บนศาลาแห่งนี้ พร้อมต้อนรับ และให้ความแนะนำในแนวทางอันเ็ป็นกลาง
แก่คนที่มาถึง ณ สถานที่แห่งนี้ทุกคน ทุกเวลา



ศาลาหอฉันเป็นที่สำหรับสวดมนต์ ไหว้พระ ทำวัตรเ้ช้า-เย็น จึงได้ประดิษฐานพระพุทธรูปหลากหลายแบบ ทั้งไทย และมอญ-พม่า
เป็นประธานภายในศาลา สำหรับกราบไหว้ของพุทธศาสนิกทุกท่านผู้มาถึงวัด ทำให้เกิดความชุ่มฉ่ำหัวใจ ชุ่มชื่นจิตใจ

กุฏิพระภิกษุ สามเณร : อาคารถาวร ขนาดเล็ก ด้านตะวันออกของวัด เป็นที่หลบร้อน หลบฝน พักผ่อน ปฏิบัติสมณะธรรม 2 หลัง
พระเมรุ: ฌาปนกิจสถาน ตั้งอยู่อย่างสงัด ด้านหลังวัด เป็นเมรุแบบสมัยใหม่ ด้านข้างมีศาลาพัก 1 หลัง สภาพค่อนข้างชวนให้ขนลุก
แม้พบ และสัมผัสในเวลาสายๆ ของวันก็ตาม

เจ้าอาวาส: วันแรกที่ได้มาถึงวัดห้วยกบ ภาพที่เห็นคือ ท่านเจ้าอาวาสอุตตระสิริ พระภิกษุชาวมอญ สัทธิวิหาริกหลวงพ่ออุตตมะ
กำลังนำพระภิกษุ สามเณรทำความสะอาด ปัด กวาดบริเวณวัดอย่างขมักเขม่น เดินอย่างสำรวม พูด คุย สั่งงานด้วยภาษามอญ ภาษาไทย
และภาษาอังกฤษ กับพระภิกษุ สามเณรบางรูปที่ท่านต้องการให้ศึกษาภาษาชนิิดนี้
เป็นพระภิกษุเคร่งครัดในกฎ วินัย พูดคุยด้วยถ้อยคำธรรมดา สอนธรรมตามหลักธรรมสายกลาง อาจจะไม่เป็นสำเนียงภาษาไทยดั้งเดิม
ที่ชัดเจนนัก แต่ก็พูด และเข้าใจได้ทั้งหมด ภาษามอญเป็นภาษาเกิด อังกฤษพูดได้ดี อีกทั้งสอนธรรมด้วยภาษาชนิดนี้ได้

ท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน หลัีงจากเจ้าอาวาสชาวกะเหรี่ยงรูปก่อนมีความจำเป็นต้องเดินทางไปสถานที่อื่น
การมีหน้าที่เป็นสมภารวัดห้วยกบ เป็นหน้าที่ไม่มีลาภ สักการะ หรือการบูชาใดพิเศษ
นอกจากความเชื่อ และศรัทธาในพระธรรมขององค์พระบรมศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
......................................................................................................................................................................................................................................................................

ปัจจุบันทางวัดกำลังก่อสร้างซุ้มประตูทางเข้า ด้วยทุนทรัพย์ที่มีจำนวนจำกัดของวัด และหมู่บ้าน
มีโอกาสขอเชิญร่วมทำบุญ สมทบทุนสร้างซุ้มประตูที่วัด และหมู่บ้าน ระยะทางไกล ถนนกันดาร แต่นั่นคือ "เครื่องพิสูจน์"

ขอขอบคุณ และยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความจริงใจ

Google
Search WWW Search truehits.net
ติดต่อสอบถาม : Saantipaab@hotmail.com, inside59@hotmail.com, Jothikhong@hotmail.com