ดบ้านใหม่พัฒนา วัดที่สร้างขึ้นท่ามกลางความเจ็บปวด คราบน้ำตา และเสียงร้องไห้ วัดที่ได้ชื่อว่า "สร้างจากความปวดร้าว
เพื่อเยียวยาความเจ็บปวด"

ปีพุทธศักราช 2523-2527 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เริ่มโครงการก่อสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จึงได้ทำการอพยพชาวบ้านตามหมู่บ้านต่างๆ ในพื้นที่อำเภอสังขละบุรีเก่าทั้งหมด ไปยังหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอสังขละบุรีปัจจุบัน ซึ่งทาง กฟผ.ได้จัดเตรียมไว้ ทั้งที่อยู่ และที่ทำกิน โดยน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณ์เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว และชาวบ้านได้อพยพครัวเรือนของตนเองทั้งหมดในปี พ.ศ. 2527



ชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านใหม่พัฒนา" เป็นชื่อที่แสดง และบ่งบอกได้ดีสำหรับการอพยพจากหมู่บ้านเก่า มาหมู่บ้านใหม่
หมู่บ้าน บ้านใหม่พัฒนา เป็นการรวมของชาวบ้าน และหมู่บ้านอำเภอสังขละบุรีเก่า คือ

- หมู่บ้านกุผะดู
- หมู่บ้านนูไก
- หมู่บ้านนูลูุ
- หมู่บ้านกุ่ยจะโถ
- หมู่บ้านเล่อเตอโก่
- หมู่บ้านโคร่โขทะ
- หมู่บ้านทุ่งมะไหล
- หมู่บ้านวาพล่องคู
- หมู่บ้านชิเด่งเฉ่ง โดยชาวบ้านเกือบทั้งหมดเป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง

ว่ากันว่า...ผู้มีีอายุในหมู่บ้าน เจ็บป่วย ล้มตายมากมายในระยะ 1-3 ปีแรกของการอพยพ
จึงกล่าวได้ว่า หมูบ้านบ้านใหม่พัฒนา เิกิดขึ้นจากความเจ็บปวด และชะตากรรมที่ต้องจำยอมอย่างแท้จริง
...................................................................................................................................................................................................................................................................................


วัดบ้านใหม่พัฒนา สร้างขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2526 ชาวบ้านในหมู่บ้านข้างต้น ได้ขนย้ายไม้จากวัดซึ่งกำลังจะจมน้ำ
ร่วมกันสร้างอาคาร เสนาสนะขึ้น โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้สร้างกุฏิสำหรับพระสงฆ์ไว้ก่อนแล้ว 2 หลัง ซึ่งยังคงมีสภาพดี
ในปัจจุบัน วัดบ้านใหม่พัฒนาเป็นศูนย์กลางการประกอบพิธี และบำเพ็ญกุศลในโอกาสสำคัญต่างๆ ทางราชการ พระพุทธศาสนา และหมู่บ้าน เป็นแหล่งความรู้ และเผยแผ่วัฒนธรรม การเขียน การอ่านภาษากะเหรี่ยงโผล่ว หรือกะเหรี่ยงโป แหล่งดนตรีพื้นบ้าน ประเพณีดั้งเดิมต่างๆ ของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ยังได้ชื่อว่า เป็นวัดแห่งเดียวในอำเภอสังขละบุรีที่ีปูชนียสถาน ตั้งอยู่ในตำแหน่งเหมาะสม สวยงาม เป็นไปตามระเบียบโบราณกาล ทั้งพระสงฆ์ภายในวัด ล้วนแล้วแ่ต่เป็นพระนักพัฒนาทั้งสิ้น สมกับหมู่บ้านที่มันตั้งอยู่ "หมู่บ้านบ้านใหม่พัฒนา"


ระธาตุประดิษฐ์จิตมั่นคง
พระธาตุประดิษฐ์จิตมั่นคง ยืนสงบอยู่บนเนินเล็กๆ บริเวณวัด ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุจากวัดหมู่บ้านเก่า
ชื่อ "หมู่บ้านสะล่องเดิ่ง" ที่จมน้ำจากการก่อสร้างเขื่อน วัด กับชาวบ้านได้ร่วมกันขุดขึ้นมา อาราธนา อัญเชิญไว้ ณ พระธาตุองค์ใหม่ ที่สร้างขึ้นเมื่อปี
พ.ศ. 2532 โดยหลวงพ่ออุตตมะ ได้ร่วมอาราธนาพระธาตุจากวัดวังก์วิเวการาม อัญเชิญไว้ ณ พระธาตุองค์ใหม่-พระธาตุประดิษฐ์จิตมั่นคงนี้ด้วย
พ.ศ.2535 การสร้างพระธาตุเสร็จสมบูรณ์ จากความร่วมแรง ร่วมใจของพุทธศาสนิกชน และชาวบ้านบ้านใหม่พัฒนาทุกคน
ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 พุทธศาสนิกชน ชาวบ้านในหมู่บ้านจะร่วมเฉลิม ฉลอง ทำบุญ บำเพ็ญกุศล แ่่ด่พระธาตุเป็นประจำทุกปี


ระอุโบสถ
ตั้งตระหง่านบนเนินเล็กๆ ตรงกันข้ามพระธาตุประดิษฐ์จิตมั่นคงภายในบริเวณวัด บนพื้นที่ที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เป็นพระอุโบสถหลังเดียวนับตั้งแต่มีการสร้างหมู่บ้าน วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 โดยพระครูสิริกาญจนคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีสุวรรณาราม อำเภอสังขละบุรี เป็นประธานในพิีธีครั้งนั้น
การสร้างพระอุโบสถส่วนหนึ่ง ลุล่วงด้วยดี จากพลังความสามัคคีของพุทธศาสนิกชนในหมู่บ้าน ภายในอำเภอสังขละบุรี และจากจังหวัดใกล้เคียง

ด้วยทำเล ที่ตั้ง อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร ทุนทรัพย์เพื่อก่อสร้าง จึงเป็นเรื่องที่ยากพอประมาณ ยากอย่างยิ่ง และยากอย่างที่สุด
กระเบื้อง อิฐ หิน ปูน ทราย เหล็ก ค่าจ้าง ค่าแรง วััสดุตกแ่ต่งภายในทั้งหมด ล้วนเป็นเรื่องยากทั้งสิ้น
แม้ยากที่จะสร้างพระอุโบสถ ณ สถานที่ทุรกันดารเช่นนี้
วัด กับหมู่บ้านไม่หยุด หรือเลิกภาระกิจที่สวยงาม และหนักอึ้งครั้งนี้ ยังเปี่ยมความหวังและกำลังใจดำเนินการต่อไป
พระอุโบสถไม่สามารถสร้างเสร็จให้สมบูรณ์ได้ ภายในวันเดียว และไม่อาจเิกิดขึ้นจากบุคคลเพียงคนเดียว
เมื่อยังเชื่อว่า "มีวันพรุ่งนี้" จึงได้เชื่อว่า "พระอุโบสถ ต้องสำเร็จได้ในวันหนึ่้ง"


าลาการเปรียญ
ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารที่ใหญ่ที่สุดภายในวัด รองจากพระอุโบสถ(ที่ยังสร้างไม่เสร็จ) ไม้สำหรับพื้น ฝา โครงสร้างอาคาร ส่วนใหญ่เป็นไม้จากวัดในหมู่บ้านเก่า ที่ได้ขนย้ายก่อนน้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2526 อาคารแห่งนี้ เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของหมู่บ้าน เป็นอาคารแห่งแรกในหมู่บ้านใหม่ สถานที่ใหม่ ภูมิประเทศใหม่ และชีวิตใหม่ แม้เป็นชีิวิตที่ไม่ได้เลือกเองก็ตาม
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะมอญ-พม่า เป็นประธานสำหรับประกอบพิธี และกราบไหว้ของชาวบ้าน พุทธศาสนิกทุกคน

ศาลาการเปรียญ เป็นศาลาเอนกประสงค์สำหรับประกอบพิธีกรรม สังฆกรรมของพระสงฆ์ จัดกิจกรรมของหมู่บ้าน
เป็นสถานที่สำหรับสวดมนต์ ไหว้พระเช้า-เย็น ทำภัตกิจเช้า-เพล และพระสงฆ์บางรูปอาศัยจำวัดภายในศาลาด้วย

อาคารศาลาการเปรียญดูแน่น และเล็กลงอย่างถนัดตาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันประกอบพิธีกรรมตามประเพณีชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง และวันเทศกาลสำคัญต่างๆ ทุกโอกาสเมื่อมีกิจกรรมใดๆ ถูกจัดขึ้นภายในศาลาแห่งนี้ ความรู้สึกประทับใจ ความรู้สึกอบอุ่นจะเกิดขึ้นทุกครั้ง
ณ ภายใน ซึ่งสามารถสัมผัสได้อย่างเงียบ ๆ


จ้าอาวาส
พระครูวิโรจน์กาญจนสิทธิ์ เจ้าอาวาสรูปที่ 2 วัดบ้านใหม่ัพัฒนา เป็นพระหนุ่ม ไฟแรง พระนักพัฒนา ขยัน อดทน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์
สำคัญที่สุด ใฝ่เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ เป็นที่เคารพรัก นับถือของชาวบ้านในพื้นที่ พุทธศาสนิกชนผู้พบเห็นทุกคน

ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านใหม่พัฒนาเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2537-จนปัจจุบัน
รับการพระราชทานแต่งตั้งสมณะศักดิ์เป็น "พระครูวิโรจน์กาญจนสิทธิ์" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2545 ณ วัดป่าเลไลย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ท่านมีนามเดิม "สุขศรี สังขกมล" เป็นคนดั้งเดิมหมู่บ้านกุผะดู อำเภอสังขละบุรีเก่า
สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอสังขละบุรี
นักธรรมเอก สำนักเรียนวัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรี
ทักทายด้วยความจริงใจ สนธนาด้วยถ้อยคำง่าย ๆ ฟังสบาย ๆ รู้สึกปลอดโปร่ง มีความสุขทุกครั้งที่ได้พบท่าน
...................................................................................................................................................................................................................................................................................

ชุมชมหมู่บ้าน บ้านใหม่พัฒนา เป็นอีก 1 ความภาคภูมิใจของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงอำเภอสังขละบุรีในเรื่อง ความสามัคคี ความพร้อมเพรียง ความใฝ่เรียนรู้ อนุรักษ์ และเผยแผ่ของชาวบ้าน/เยาวชนในหมู่บ้านตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่ผ่านมา
ปัจจัย หรือเคล็ดลับสำคัญของโครงสร้างอันเป็นตัวอย่างน่าภาคภูมิใจนี้ คือ วัดไม่ทอดทิ้งบ้าน และบ้านไม่ปล่อยร้างวัด

ขอขอบคุณ และยินดีต้อนรับทุกท่าน

ติดต่อสอบถาม ฝากข้อความ ข้อสงสัย

087-013-6626 พระครูวิโรจน์กาญจนสิทธิ์ (เจ้าอาวาส)
085-043-6739 พระรหัท(หลวงพี่เสือ) นิธิปัญโญ (สังขนิธิ)

Google
Search WWW Search truehits.net
ติดต่อสอบถาม : Saantipaab@hotmail.com, inside59@hotmail.com, Jothikhong@hotmail.com